window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
วิธีสร้างและซ่อมความสัมพันธ์กับลูก
เมื่อ 8 เดือนที่แล้ว

“ในวันที่รู้สึกว่าพ่อแม่อยู่ทีมเดียวกันกับเขา เสียงของเราจะเข้าถึงใจของลูก” 

วิธีสร้างและซ่อมความสัมพันธ์กับลูก บทความโดย #มัมมี่Bชวนเมาท์ 

 

ด้วยความรักและความห่วงใย ไม่ว่าลูกจะยังเล็กหรือเติบโตสักแค่ไหนก็ยังคงเป็นเด็กในสายตาของพ่อแม่เสมอ แต่หลายครั้งเราก็อดน้อยใจไม่ได้จริงๆว่า ทำไมยิ่งนับวันยิ่งดูเหมือนว่าลูกไม่รับรู้ คำแนะนำด้วยความรักและความหวังดี ลูกๆ กลับไม่ต้องการ คำเตือนของเรากลายเป็นความน่ารำคาญสำหรับเขา ช่องว่างระหว่างเราและลูกนับวันยิ่งห่างขึ้นทุกที  

  

ก่อนอื่นขอให้พ่อแม่ลองพิจารณาประโยคเหล่านี้นะคะ หากหัวหน้าของเรา พูดประโยคเหล่านี้บ่อยๆ เราจะรู้สึกอย่างไร 

  

"ทำไมวันนี้มาทำงานสาย รู้เวลาเข้างานบ้างไหม ผมว่าถ้าไม่โดนลงโทษซะบ้าง คุณคงไม่จำ"

"เรื่องนี้ผมสอนคุณกี่รอบแล้วทำไมยังทำผิด คุณเคยจำ เคยเข้าใจบ้างไหม ผมเบื่อจนไม่อยากจะพูดกับคุณแล้วนะ"

"คุณเองก็ทำงานมาหลายปีแล้ว ไม่เคยพัฒนาเลย เคยคิดจะปรับปรุงตัวเองบ้างไหม มองคนอื่นไหมว่าเขาพัฒนาไปถึงไหนกันแล้ว"

 

เรารับรู้ได้ถึงความห่วงใยกับประโยคเหล่านี้กันไหมคะ ถึงแม้หัวหน้าจะเตือนเราด้วยความหวังดีก็ตาม 

  

เพราะทุกคนไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ในเวลาที่เราทำอะไรไม่เหมาะสมหรือทำผิดพลาด สิ่งที่เราต้องการคือ โค้ชคู่คิดที่เข้าใจอยู่เคียงข้าง ไม่ใช่นักวิจารณ์ความผิดพลาดของเรา 

  

ความคิดที่ต่างวัย ต่างประสบการณ์ การสื่อสารด้วยความไม่เข้าใจกัน การปฎิบัติต่อกันด้วยอารมณ์ที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิด “ช่องว่าง” หากปล่อยไว้ยิ่งนานวัน ช่องว่างนั้น “ยิ่งกว้างและอ้างว้าง” ขึ้นทุกที  

  

คนทุกคนทำผิดพลาดได้เพราะความไม่รู้ ที่ผ่านมา หากลูกทำผิดพลาดได้ พ่อแม่ก็เช่นกัน ขอเพียง #ยอมรับ #ขอโทษ #แก้ไข ทุกอย่างเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ 

  

- ไม่มีคำว่ายากหรือสายเกินไปหากใจเราของพยายามมากพอ - 

  

"แม่ขอโทษนะลูก ที่ผ่านมาแม่ไม่เคยรับฟังลูกให้มากพอ เลยทำให้แม่ไม่เข้าใจลูก ตอนนี้แม่รู้แล้วว่า ลูกกลัว ผิดหวังและเสียใจมากแค่ไหน แม่สัญญาว่าต่อไปนี้ แม่จะฟังลูกให้มากขึ้น ให้โอกาสแม่เริ่มต้นใหม่ได้ไหม"

  

หากการลงโทษลูกด้วยความรุนแรง การดุด่าว่ากล่าวไม่เคยได้ผลลัพธ์ที่ดี การเปิดใจเรียนรู้การเลี้ยงลูกเชิงบวกอาจสามารถช่วยได้ #หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวกไม่ใช่การตามใจ แต่เป็นการสร้างกฎระเบียบวินัยให้ลูกไปพร้อมกับความสัมพันธ์ที่ดีไปด้วยกัน 

  

การเลี้ยงลูกเชิงบวก เป็น การเรียนรู้ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรมลูก ด้วยเทคนิคการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสม ใช้การชมที่ถูกต้องเพื่อสร้างกำลังใจให้ลูกทำพฤติกรรมดี และ ใช้เทคนิคการให้รางวัลและการทำโทษที่ถูกวิธีช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมบวก  

  

เมื่อใช้วิธีที่ถูกต้องและการสื่อสารที่เหมาะสม ถึงแม้อาจจะใช้เวลา แต่ลูกจะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง และจะสัมผัสได้ว่า #แท้จริงแล้วสิ่งพ่อแม่ทำไปนั้นเพราะรักและห่วงใยเขาขนาดไหน  

  

และนี่คือตัวอย่าง #การสร้างวินัย #การสื่อสารความต้องการของพ่อแม่ #แต่ยังคงความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ที่เราจะได้รับจากการเรียนรู้หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวก  

  

❎ทำไมกลับบ้านดึกๆ แม่โทรไปก็ไม่รับสาย แล้วนี่ไปไหนมา ไปกับใคร ?  

✅แม่เป็นห่วงลูกจริงๆ ที่หนูกลับบ้านผิดเวลาแล้วไม่โทรบอกแม่ แม่อยากให้หนูโทรบอกแม่ว่าไปไหน หรือว่าไปกับใคร แม่จะได้รู้ว่าลูกปลอดภัย 

  

❎จะสอบแล้ว พ่อไม่เคยเห็นลูกจะอ่านหนังสือ พอสอบตกที่ไรก็มานั่งร้องให้ เมื่อไหร่ลูกจะดูแลตัวเองได้สักที  

✅แม่รู้ว่าหนูเองก็เสียใจที่สอบไม่ผ่าน แม่เชื่อว่าถ้าลูกตั้งใจลูกจะทำได้ แม่ยังเชื่อมั่นในตัวลูกเสมอ 

  

❎ ลืมเอาของไปโรงเรียนอีกแล้ว แล้วหนูก็มาบ่นว่าถูกครูทำโทษ แม่เตือนกี่ครั้งกี่หนให้รู้จักเตรียม ! 

✅แม่เข้าใจว่าในวันหนึ่งลูกต้องเรียนหลายวิชามากๆแม่อยากให้หนูจัดเตรียมของให้พร้อมตั้งแต่กลางคืน เช้าลูกจะได้ไม่ต้องรีบและไม่ลืมของ 

  

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเรียนรู้การสร้างกฎวินัยกติกาในบ้าน แต่ยังคงเข้าถึงใจลูกด้วยแนวทางการเลี้ยงลูกเชิงบวก สามารถเข้าเรียนได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ www.netpama.com ซึ่งแบ่งการเรียนเป็นบทเรียนย่อย ให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ดังนี้ 

  

บทที่1 ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม 

บทที่2 ทักษะพื้นฐานในการสื่อสาร 

บทที่3 เทคนิคการชม 

บทที่4 เทคนิคการให้รางวัล 

บทที่5 เทคนิคการลงโทษ 

บทที่6 เทคนิคการทำตารางให้คะแนน 

  

ในแต่ละบทจะมีทั้งคลิปละคร ตัวอย่างคำพูด มีแบบฝึกหัดให้ลองทำ เข้าใจง่ายเอาไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน รับรองว่าได้ผลแน่นอนค่ะ ! นอกจากนี้คะแนนสะสมยังสามารถนำมาใช้เป็นสิทธิพิเศษในการปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย 

  

เพราะชีวิตคือการเรียนรู้ เรียนรู้และเติบโตไปด้วยกันกับลูกนะคะ ♥️ 

NET PaMa