วิธีคุยกับลูกวัยรุ่นให้เข้าใจและไม่ทะเลาะกัน
เมื่อ 4 สัปดาห์ที่แล้ว
วิธีคุยกับลูกวัยรุ่นให้เข้าใจและไม่ทะเลาะกัน บทความโดย #แม่มิ่ง
.
เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรืออารมณ์ที่กำลังพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ทำให้เด็กน้อยในวันนั้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปมากมายในวันนี้
.
จึงมักมีคำกล่าวว่า การเลี้ยงลูกวัยรุ่นเป็นเรื่องยาก เพราะบ่อยครั้งที่มีปัญหากระทบกระทั่งกัน เนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน ลูกเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นกว่าตอนเป็นเด็กเล็ก อยากมีอิสระมากขึ้น ไม่ชอบการควบคุม บังคับ ออกคำสั่ง เมื่อถูกพ่อแม่พูดหรือตักเตือนทำให้เกิดการต่อต้านพ่อแม่ได้ง่าย บางคนเลือกที่จะเก็บตัวไม่พูดคุยกับคนในครอบครัว ส่งผลต่อปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
.
เมื่อไม่อยากพูดคุยกับพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัว วัยรุ่นจึงเลือกที่จะเทความสำคัญไปที่เพื่อน หรือเลือกที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากกว่าจะขอคำแนะนำหรือความช่วยเหลือจากพ่อแม่โดยไม่คำนึงว่า ผลจากการกระทำบางอย่างอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อตนเองได้ การไม่พูดคุย เท่ากับการก่อตัวของปัญหาด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ทำให้เกิดเป็นช่องว่างที่มีระยะห่างของพ่อแม่และลูกวัยรุ่นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
.
ในด้านสังคมก็ส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นอย่างมาก สังคมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น และมีผู้คนมากมายในชีวิตเพิ่มขึ้น ทำให้วัยรุ่นต้องปรับตัว จึงส่งผลให้ภายในใจของวัยรุ่นกลับความรู้สึกสับสนและไม่มั่นคงทางจิตใจ แต่ในความจริงปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออก ถ้าเราทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกวัยรุ่น ปรับการเลี้ยงดูให้เหมาะสมกับช่วงวัย ปัญหาที่มีกับลูกวัยรุ่นจะลดลง แม้แต่คุณพ่อคุณแม่เองก็จะเบาใจขึ้นด้วย
.
วิธีคุยกับลูกวัยรุ่นให้เข้าใจและไม่ทะเลาะกัน มีดังนี้
.
#เปลี่ยนบทบาทจากผู้พูดเป็นผู้ฟัง
การเป็นผู้ฟังที่ดีเป็นอย่างไร การเป็นผู้ฟังที่ดีคือ ฟังให้จบ จับประเด็นให้ได้ในสิ่งที่ลูกต้องการบอกเล่า สิ่งที่ลูกต้องการจะบอกเรา บางครั้งลูกเพียงแค่ต้องการระบายความอัดอั้นตันใจ อาจไม่ได้ต้องการคำแนะนำใด ๆ จากพ่อแม่ขอเพียงรับฟัง การฟังที่ดีต้องฟังให้จบอย่างตั้งใจ โดยไม่พูดแทรก หรือรีบสั่งสอน แม้เรื่องนั้นพ่อแม่อยากจะพูดก็ตาม อยากจะสอนหรืออยากจะตัดสินถูก-ผิดทันที แต่เราเลือกที่จะฟังจนจบ
.
#ตั้งคำถามชวนให้ลูกคิด
การตั้งคำถามช่วยให้ลูกฝึกคิดและทบทวนตนเอง เหมาะกับลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นมากกว่าที่จะฟังคำสั่งสอนเพียงอย่างเดียว แต่การตั้งคำถามด้วยการใช้คำถามปลายเปิด ชวนให้ลูกคิด ตรึกตรอง หรือถามถึงความรู้สึกของลูกที่มีต่อเรื่องนั้น วิธีการแก้ไขที่ลูกคิดไว้ เช่น
.
“ลูกคิดยังไงกับเรื่องนี้”
“ลูกวางแผนไว้อย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกเล่า”
.
การใช้คำถามเพื่อให้ลูกทบทวนตนเอง ช่วยฝึกให้ลูกรู้จักคิดทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น กล้าลงมือทำ กล้าแก้ไขปัญหา และรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยสติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ลูกสามารถค้นหาตนเองได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะรู้และเข้าใจตนเองแล้วว่ามีความสามารถอะไร เห็นคุณค่าในตนเอง และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ส่งผลให้ลูกเป็นคนกล้าคิดและกล้าตัดสินใจในทางที่เหมาะสม
.
#พยายามอย่าใช้คำสั่ง
วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ชอบให้พ่อแม่ใช้คำสั่ง มักชอบทำอะไรตามใจตนเอง ดังนั้น การสั่งตรง ๆ อาจไม่ได้รับความร่วมมือ แต่ให้ใช้วิธีการขอความร่วมมือ หรือขอความช่วยเหลือจะได้รับความร่วมมือมากกว่า
.
#ให้ความสำคัญกับลูก
การให้ความสำคัญกับลูกทำให้ลูกวัยรุ่นทำให้ลูกรู้ว่าเขามีตัวตนในครอบครัว พ่อแม่เห็นความสำคัญ โดยถามความคิดเห็นและให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ภายในครอบครัว ให้คำชมเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ดี
.
“ไอเดียของลูกดีมากเลยจ๊ะ แม่คิดไม่ถึงเลย ดีนะที่ลูกบอกแม่ ขอบใจมากนะจ๊ะ”
“ขอบใจนะที่ลูกช่วยตัดกิ่งไม้ที่ยาวเกะกะ ทำให้บ้านดูโล่ง สว่างขึ้นเยอะเลย”
.
#เวลาที่มีความรู้สึกหรืออารมณ์ต่าง ๆ
เวลาที่ลูกมีความรู้สึกโกรธ เศร้า เสียใจ โดยคุณพ่อคุณแม่สังเกตจากสีหน้าท่าทาง การกระทำ ให้พูดถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่พูดถึงพฤติกรรม เพราะการควบคุมอารมณ์ของวัยรุ่นมักทำได้ไม่ดี หากพ่อแม่ยิ่งไปพูดตอกย้ำ ยิ่งส่งผลเสียต่อพฤติกรรมมากขึ้น
.
“ลูกกำลังโกรธใช่ไหม”
“ลูกเสียใจที่เกิดเหตุการณ์นี้”
.
การพูดถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกรู้ตัวและเริ่มเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองว่าในขณะนั้นตนกำลังรู้สึกอะไรจากการสะท้อนของพ่อแม่ ไม่พูดถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแบบดุว่า เพราะช่วงเวลาที่โกรธ โมโห แน่นอนว่าทุกคนมักแสดงการกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ การพูดสะท้อนอารมณ์จะช่วยให้เราไม่ไปตอกย้ำถึงพฤติกรรมไม่ดีมากเกินไป ส่งผลให้ลูกควบคุมอารมณ์ตนเองได้มากขึ้น
.
การเลี้ยงลูกวัยรุ่นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปหากเราเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของช่วงวัย และใช้การสื่อสารเชิงบวกที่สร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่ทุกคนในครอบครัว
.
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ต้องการเลี้ยงลูกเชิงบวก การปรับพฤติกรรม เทคนิคการสื่อสาร การชม การให้รางวัลและการลงโทษ สามารถลงทะเบียนเรียนฟรีได้ที่ https://www.netpama.com/ ซึ่งคอร์สเรียนของเราถูกออกแบบโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มีทั้งคลิปวิดีโอเรื่องราวต่าง ๆ ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ที่สำคัญเรียนฟรี!!! ด้วยนะคะ
.
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรืออารมณ์ที่กำลังพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ทำให้เด็กน้อยในวันนั้นมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปมากมายในวันนี้
.
จึงมักมีคำกล่าวว่า การเลี้ยงลูกวัยรุ่นเป็นเรื่องยาก เพราะบ่อยครั้งที่มีปัญหากระทบกระทั่งกัน เนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน ลูกเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นกว่าตอนเป็นเด็กเล็ก อยากมีอิสระมากขึ้น ไม่ชอบการควบคุม บังคับ ออกคำสั่ง เมื่อถูกพ่อแม่พูดหรือตักเตือนทำให้เกิดการต่อต้านพ่อแม่ได้ง่าย บางคนเลือกที่จะเก็บตัวไม่พูดคุยกับคนในครอบครัว ส่งผลต่อปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
.
เมื่อไม่อยากพูดคุยกับพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัว วัยรุ่นจึงเลือกที่จะเทความสำคัญไปที่เพื่อน หรือเลือกที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากกว่าจะขอคำแนะนำหรือความช่วยเหลือจากพ่อแม่โดยไม่คำนึงว่า ผลจากการกระทำบางอย่างอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อตนเองได้ การไม่พูดคุย เท่ากับการก่อตัวของปัญหาด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ทำให้เกิดเป็นช่องว่างที่มีระยะห่างของพ่อแม่และลูกวัยรุ่นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
.
ในด้านสังคมก็ส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นอย่างมาก สังคมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น และมีผู้คนมากมายในชีวิตเพิ่มขึ้น ทำให้วัยรุ่นต้องปรับตัว จึงส่งผลให้ภายในใจของวัยรุ่นกลับความรู้สึกสับสนและไม่มั่นคงทางจิตใจ แต่ในความจริงปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออก ถ้าเราทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกวัยรุ่น ปรับการเลี้ยงดูให้เหมาะสมกับช่วงวัย ปัญหาที่มีกับลูกวัยรุ่นจะลดลง แม้แต่คุณพ่อคุณแม่เองก็จะเบาใจขึ้นด้วย
.
วิธีคุยกับลูกวัยรุ่นให้เข้าใจและไม่ทะเลาะกัน มีดังนี้
.
#เปลี่ยนบทบาทจากผู้พูดเป็นผู้ฟัง
การเป็นผู้ฟังที่ดีเป็นอย่างไร การเป็นผู้ฟังที่ดีคือ ฟังให้จบ จับประเด็นให้ได้ในสิ่งที่ลูกต้องการบอกเล่า สิ่งที่ลูกต้องการจะบอกเรา บางครั้งลูกเพียงแค่ต้องการระบายความอัดอั้นตันใจ อาจไม่ได้ต้องการคำแนะนำใด ๆ จากพ่อแม่ขอเพียงรับฟัง การฟังที่ดีต้องฟังให้จบอย่างตั้งใจ โดยไม่พูดแทรก หรือรีบสั่งสอน แม้เรื่องนั้นพ่อแม่อยากจะพูดก็ตาม อยากจะสอนหรืออยากจะตัดสินถูก-ผิดทันที แต่เราเลือกที่จะฟังจนจบ
.
#ตั้งคำถามชวนให้ลูกคิด
การตั้งคำถามช่วยให้ลูกฝึกคิดและทบทวนตนเอง เหมาะกับลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นมากกว่าที่จะฟังคำสั่งสอนเพียงอย่างเดียว แต่การตั้งคำถามด้วยการใช้คำถามปลายเปิด ชวนให้ลูกคิด ตรึกตรอง หรือถามถึงความรู้สึกของลูกที่มีต่อเรื่องนั้น วิธีการแก้ไขที่ลูกคิดไว้ เช่น
.
“ลูกคิดยังไงกับเรื่องนี้”
“ลูกวางแผนไว้อย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกเล่า”
.
การใช้คำถามเพื่อให้ลูกทบทวนตนเอง ช่วยฝึกให้ลูกรู้จักคิดทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น กล้าลงมือทำ กล้าแก้ไขปัญหา และรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยสติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ลูกสามารถค้นหาตนเองได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะรู้และเข้าใจตนเองแล้วว่ามีความสามารถอะไร เห็นคุณค่าในตนเอง และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ส่งผลให้ลูกเป็นคนกล้าคิดและกล้าตัดสินใจในทางที่เหมาะสม
.
#พยายามอย่าใช้คำสั่ง
วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ชอบให้พ่อแม่ใช้คำสั่ง มักชอบทำอะไรตามใจตนเอง ดังนั้น การสั่งตรง ๆ อาจไม่ได้รับความร่วมมือ แต่ให้ใช้วิธีการขอความร่วมมือ หรือขอความช่วยเหลือจะได้รับความร่วมมือมากกว่า
.
#ให้ความสำคัญกับลูก
การให้ความสำคัญกับลูกทำให้ลูกวัยรุ่นทำให้ลูกรู้ว่าเขามีตัวตนในครอบครัว พ่อแม่เห็นความสำคัญ โดยถามความคิดเห็นและให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ภายในครอบครัว ให้คำชมเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ดี
.
“ไอเดียของลูกดีมากเลยจ๊ะ แม่คิดไม่ถึงเลย ดีนะที่ลูกบอกแม่ ขอบใจมากนะจ๊ะ”
“ขอบใจนะที่ลูกช่วยตัดกิ่งไม้ที่ยาวเกะกะ ทำให้บ้านดูโล่ง สว่างขึ้นเยอะเลย”
.
#เวลาที่มีความรู้สึกหรืออารมณ์ต่าง ๆ
เวลาที่ลูกมีความรู้สึกโกรธ เศร้า เสียใจ โดยคุณพ่อคุณแม่สังเกตจากสีหน้าท่าทาง การกระทำ ให้พูดถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่พูดถึงพฤติกรรม เพราะการควบคุมอารมณ์ของวัยรุ่นมักทำได้ไม่ดี หากพ่อแม่ยิ่งไปพูดตอกย้ำ ยิ่งส่งผลเสียต่อพฤติกรรมมากขึ้น
.
“ลูกกำลังโกรธใช่ไหม”
“ลูกเสียใจที่เกิดเหตุการณ์นี้”
.
การพูดถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ลูกรู้ตัวและเริ่มเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองว่าในขณะนั้นตนกำลังรู้สึกอะไรจากการสะท้อนของพ่อแม่ ไม่พูดถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแบบดุว่า เพราะช่วงเวลาที่โกรธ โมโห แน่นอนว่าทุกคนมักแสดงการกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ การพูดสะท้อนอารมณ์จะช่วยให้เราไม่ไปตอกย้ำถึงพฤติกรรมไม่ดีมากเกินไป ส่งผลให้ลูกควบคุมอารมณ์ตนเองได้มากขึ้น
.
การเลี้ยงลูกวัยรุ่นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปหากเราเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของช่วงวัย และใช้การสื่อสารเชิงบวกที่สร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่ทุกคนในครอบครัว
.
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ต้องการเลี้ยงลูกเชิงบวก การปรับพฤติกรรม เทคนิคการสื่อสาร การชม การให้รางวัลและการลงโทษ สามารถลงทะเบียนเรียนฟรีได้ที่ https://www.netpama.com/ ซึ่งคอร์สเรียนของเราถูกออกแบบโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มีทั้งคลิปวิดีโอเรื่องราวต่าง ๆ ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ที่สำคัญเรียนฟรี!!! ด้วยนะคะ
.
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ