window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');

‘คนเป็นพ่อ’ ก็มี ‘ภาวะหมดไฟ’ ได้ (Parental Burnout)

เมื่อ 13 ชั่วโมงที่แล้ว
‘คนเป็นพ่อ’ ก็มี ‘ภาวะหมดไฟ’ ได้ (Parental Burnout) บทความโดย #น้องตัวกลม????
.
เวลาที่เราพูดถึง "พ่อแม่ที่เหนื่อยล้า" ภาพจำที่มักจะผุดขึ้นในความคิดของหลายคนคือคุณแม่ที่กำลังอุ้มลูกน้อย ดวงตาหมองคล้ำจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องแบกรับภาระมากมายสารพัด
.
แต่ในอีกมุมหนึ่งที่เราอาจมองข้ามไป…
ท่ามกลางความวุ่นวายของบ้าน เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม
และบางครั้งก็คราบน้ำตาของลูกๆ
.
อาจมีผู้ชายคนหนึ่งที่นั่งเงียบๆ อยู่ข้างๆ
ที่กำลังแบกรับความเหนื่อยล้าและความเครียดไว้ภายใน
โดยที่เราอาจเผลอลืมถามไถ่เขาไปว่า
"ไหวอยู่หรือเปล่าพ่อ?"
---------------------------
????‍♂️เพราะคำว่า “พ่อ” มาพร้อมความคาดหวัง
.
สังคมมักวางให้ "พ่อ" ต้องเข้มแข็ง
ไม่บ่น ไม่อ่อนแอ เป็นเสาหลักที่ไม่มีวันล้ม
จนคุณพ่อหลายคนเลือกที่จะ "กลืนความรู้สึก" และใช้ความเงียบแทนคำพูด
ทั้งที่จริงแล้ว...
พ่อก็หมดไฟได้ และในบางบ้าน
ความเงียบของพ่อ อาจกำลังส่งผล
ต่อทั้งตัวเค้าเอง แม่(ภรรยา) และลูก
---------------------------
???? เมื่อความเครียดของพ่อส่งผลต่อลูก
การเลี้ยงลูกเป็นบทบาทที่สำคัญและท้าทาย
โดยเฉพาะในยุคที่พ่อมีส่วนร่วมมากขึ้น
.
งานวิจัยเรื่อง
"Fathers' Parenting Stress, Parenting Styles and Children's Problem Behavior: The Mediating Role of Parental Burnout" ตีพิมพ์ในวารสาร Current Psychology ปี 2023
.
เปิดเผยประเด็นสำคัญที่หลายครอบครัวอาจยังไม่รู้ว่า
“ความเครียดของพ่อ” และ “รูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อ” มีอิทธิพลโดยตรงต่อ “ภาวะหมดไฟในการเลี้ยงดู”
.
ซึ่งภาวะนี้เอง
เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ
พฤติกรรมปัญหาของเด็กได้
---------------------------
????ภาวะหมดไฟในการเลี้ยงดู
งานวิจัยพบว่า…
พ่อที่เครียดจากการเลี้ยงลูก และพ่อที่ใช้การเลี้ยงดูแบบ
#เข้มงวด ตำหนิ ดุด่า”
มักมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะ
“Parental Burnout”
.
ในทางตรงกันข้าม
พ่อที่มีรูปแบบการเลี้ยงดูแบบ
#ให้กำลังใจ อบอุ่น และสนับสนุน
จะมีความเสี่ยงของภาวะหมดไฟต่ำลง
---------------------------
????พ่อที่หมดไฟอาการเป็นยังไงกันนะ?
ถอยออกจากลูกโดยไม่รู้ตัว ไม่อยากเล่น
ไม่อยากพูด อยากอยู่คนเดียว
บางครั้งก็เข้าไปในโลกของเกม กีฬา หรือซีรีส์
เพราะนั่นอาจคือพื้นที่เดียวที่ไม่ต้อง “เป็นพ่อที่ดี”
---------------------------
????ถ้าพ่อเริ่มหมดไฟ…รับมือยังไงดี?
????‍♂️สำหรับคุณพ่อเอง
ยอมรับ-ว่าคุณมีสิทธิ์เหนื่อย
สื่อสาร-กับคู่ชีวิตเมื่อรู้สึกไม่ไหว เช่น “วันนี้ขอพักก่อนนะ”
พักให้เป็น-หาเวลาทำสิ่งที่ชอบจริงๆ
อย่ารอให้ถึงจุดวิกฤต-ถ้ารู้สึกหมดแรงตลอดเวลา → ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
.
????คุณแม่จะเป็นกำลังใจให้พ่อยังไงดี?
ในฐานะภรรยา แม่ก็มีบทบาทสำคัญมาก
ไม่ใช่ในฐานะคนแบกรับทุกอย่าง
แต่ในฐานะ “เพื่อนร่วมทีม”
ที่อยู่ข้างพ่อในวันที่เขาไม่ไหว
.
คุณแม่สามารถช่วยได้ด้วยวิธีเหล่านี้
ถามด้วยใจ ไม่ใช่ตัดสิน
“วันนี้เหนื่อยไหม” ประโยคง่ายๆ แต่ช่วยเปิดใจได้มาก
หลีกเลี่ยงคำพูดอย่าง “ก็แค่เลี้ยงลูกเอง ทำไมเหนื่อย”
.
รับฟังโดยไม่พยายามแก้ไขทันที
แค่การให้คุณพ่อได้เล่าความรู้สึก
โดยไม่ต้องถูกตัดบท ก็ช่วยเยียวยาใจได้
.
ให้พื้นที่พ่อได้พักจริงๆ
สลับหน้าที่พ่อไม่ต้องเป็น
"คนช่วยแม่" แต่เป็น "พ่อคนหนึ่งที่มีสิทธิ์พัก"
.
พูดขอบคุณให้ชัดเจน
“ขอบคุณนะ ที่อยู่ตรงนี้กับลูก”
เพราะกำลังใจดีๆ มักมีพลังมากกว่าที่คิด
.
ชวนกันเติมพลังใจให้กันและกัน
บางครั้ง...การฟื้นพลังของพ่อ ไม่ได้ต้องการอะไรมาก
แค่ได้ “อยู่ด้วยกัน” แบบไม่ต้องเร่งรีบ
ได้จู๋จี๋กันบ้าง พูดคุย หัวเราะในมุมของ “เรา”
ที่ไม่ใช่แค่พ่อกับแม่ของลูก
ลองพากันออกไปเที่ยว
เล่นกับลูกด้วยกันแบบไม่มีบทบาทใดค้ำอยู่
หรือปล่อยให้เขาได้กลับไปทำสิ่งที่เคยรัก
อย่างการดูหนังเงียบๆ หรือได้นัดพบเพื่อนเก่า
.
เพื่อให้หัวใจของพ่อ...ได้พัก และกลับมาเต็มอีกครั้ง
.
พ่อที่ดี ไม่ใช่พ่อที่สมบูรณ์แบบ
แต่คือพ่อที่ “กล้ารักตัวเอง”
รู้จักพัก กล้าบอกว่า "ไม่ไหว"
และยังเลือก “อยู่ตรงนี้”
กับลูก กับแม่ และกับครอบครัว
.
เพราะสิ่งที่ลูกต้องการ
อาจไม่ใช่พ่อที่แข็งแกร่งตลอดเวลา
แต่คือพ่อที่ “รักตัวเองเป็น” และ
“พร้อมจะเรียนรู้ไปด้วยกัน”
.
หากคุณกำลังมองหาเครื่องมือในการเยียวยาหัวใจ
และต่อพลังให้กับบทบาทสำคัญที่สุดในชีวิต—บทบาทพ่อแม่
.
น้องตัวกลมขอชวน..
มาเรียนรู้และเติมพลังร่วมกัน
ในคอร์สออนไลน์ของ
“Netpama คอร์สเลี้ยงลูกเชิงบวก”
ที่ออกแบบมาเพื่อพ่อแม่ที่
“ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ”
แต่รักลูกด้วยหัวใจที่แท้จริง
.
สามารถลงทะเบียนเรียนฟรีได้ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
????https://www.netpama.com
เพราะไม่มีใครต้องเก่งตลอดเวลา
แต่ทุกคน...สามารถ “เริ่มต้นใหม่” ได้เสมอค่ะ

---------------------------
Ref : https://shorturl.asia/4Ds5T

Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก

Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม


#Netpama #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก #เลี้ยงลูกเชิงบวก

#พ่อก็หมดไฟได้ #ParentalBurnout #พ่อเหนื่อยไม่พูด #เข้าใจพ่อ #เลี้ยงลูกด้วยใจ
หมวดหมู่ทั้งหมด

NET PAMA