เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นเติบโตเป็นคนจิตใจดี
เมื่อ 16 ชั่วโมงที่แล้ว
#เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นเติบโตเป็นคนจิตใจดี บทความโดย #มัมมี่Bชวนเมาท์
.
#เมื่อเราถูกรักโดยลูกชายของใครสักคนที่ถูกเลี้ยงมาอย่างดี หลายคนคงเคยเห็นไวรัลที่ดังใน TikTok ซึ่งมีคลิปมากมายทั้งในมุมของลูกชายที่น่ารัก สามีที่ดีหรือคุณพ่อที่แสนอบอุ่น หลายคลิปนั้นน่ารักจนดูแล้วแอบใจฟูอดยิ้มตามไม่ได้เลย
.
มัมมี่B คิดว่าไม่ว่าจะลูกชายหรือลูกสาว พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนจิตใจดี มีความรับผิดชอบ อ่อนโยน และเข้าใจผู้อื่น มีความสุขได้ในแบบของเขา เป็นที่รักและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและผู้คนรอบตัว
.
วันนี้เราจึงมีข้อแนะนำเพื่อให้พ่อแม่เป็น “ใครคนนั้น” ที่เลี้ยงดูลูกด้วยความรักมาอย่างดี บ่มเพาะให้ลูกน้อยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่จิตใจดีมีคุณภาพ โดยทำได้ดังนี้
.
#ให้ความรักเป็นรากฐานความมั่นคงทางใจกับลูก
เด็กที่รู้สึกเป็นที่รักจะรู้จักมอบความรักให้กับผู้อื่น ลูกมักจะซึมซับการแสดงออกด้านความรักผ่านการเลี้ยงดูและความสัมพันธ์ในครอบครัว
.
มอบความรู้สึกเป็นที่รัก มั่นคงและปลอดภัยในใจของเขา รักและยอมรับชื่นชมในสิ่งที่ลูกเป็น รักลูกก็ควรพูดบอกและแสดงออกให้ลูกรู้บ่อยๆ เช่น บอกรัก อุ้มกอด พูดคุย รับฟัง เล่น หรืออ่านนิทานใช้เวลาร่วมกัน
.
#ฝึกวินัยและความมีน้ำใจให้กับลูก
การที่ลูกมีวินัยดูแลตัวเองได้ เช่น อาบน้ำ ทานข้าว แปรงฟัน รับผิดชอบกิจวัตรประจำวันได้ตามวัยของตนเอง จะทำให้ลูกรู้สึกมีคุณค่าและภาคภูมิใจ วินัยจะทำให้ลูกมีความรับผิดชอบหน้าที่ มีความยับยั้งชั่งใจ อดทนรอคอย มุ่งมั่นเพื่อไปสู่เป้าหมาย
.
เพิ่มโอกาสให้ลูกได้แสดงน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำเพื่อส่วนรวม เช่น การมอบหมายงานบ้าน หรือการช่วยงานจิตอาสา
.
#พ่อแม่เป็นแบบอย่างของความใจดีมีเมตตา
ทุกสิ่งที่พ่อแม่ทำจะสะสมเป็นพลังส่งต่อให้ลูก พ่อแม่คือเป็นต้นแบบของความใจดีและให้เกียรติผู้อื่นแม้ในเรื่องเล็กๆ เช่น การเปิดปิดประตูให้ เอื้อเฟื้อที่นั่ง หรือช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส พูดจาสุภาพและให้เกียรติทุกคน กล่าวขอบคุณแม้เป็นเรื่องเล็กน้อย หรือขอโทษอย่างจริงใจเมื่อทำผิดโดยไม่แก้ตัว
.
#สอนทักษะการสื่อสารเชิงบวกเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ทำได้โดยใช้การสื่อสารเชิงบวกกับลูก พูดคุยรับฟังกันด้วยความเข้าใจ ถึงจะเห็นต่างแต่ก็ยอมรับและเคารพในความรู้สึกและเหตุผลของอีกฝ่าย
.
รวมถึงการบอกรัก ขอโทษขอบคุณแสดงความห่วงใยต่อกันบ่อยๆ การคิดเพื่อแก้ปัญหามากกว่าการตำหนิ แทนการสั่งและบังคับด้วยการทำข้อตกลงหรือขอความร่วมมือ ใช้การชื่นชมให้กำลังใจเป็นแรงผลักดันแทนการลงโทษเพื่อให้กลัว
.
#ฝึกให้ลูกเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
หากรู้สึกว่ามีคนเข้าใจเขา ลูกจะเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น โดยพ่อแม่จะเป็นพื้นที่ปลอดภัย เคียงข้างรับฟังและยอมรับในทุกความรู้สึกของลูก ฟังเพื่อที่จะเข้าใจและโอบกอดความรู้สึก ไม่ใช่เพื่อสอนหรือตัดสิน แล้วจึงค่อยให้คำแนะนำเมื่อลูกต้องการ
.
#สอนให้ลูกมีความเห็นอกเห็นใจ
ชวนลูกพูดคุยเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกบ่อยๆ จะทำให้ลูกเข้าใจและสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสังเกต เรียนรู้ที่จะเข้าใจในอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นด้วย
.
ฝึกให้ลูกคิดผ่านนิทาน ละคร หรือ เรื่องราวต่างๆ เช่น คนที่ถูกวิจารณ์ลบๆจะรู้สึกอย่างไร ? อะไรทำให้คนนี้ทำร้าย/ช่วยเหลือคนอื่น ? แล้วถ้าเป็นลูกอยากจะทำอย่างไร ? เราจะช่วยอะไรได้บ้าง ?
.
#สอนให้ลูกรู้จักชื่นชมและยินดีกับผู้อื่น
การชมไม่เพียงเป็นการแสดงออกถึงการยอมรับ ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจ สร้างการรับรู้คุณค่าในตัวเอง (self esteem) และที่สำคัญเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วย
.
เด็กที่ได้รับการ #ชื่นชมบ่อยๆอย่างถูกวิธี จะซึมซับและเรียนรู้ที่จะชื่นชมผู้อื่น พ่อแม่สามารถชมลูกได้ทุกวัน โดยชมในตัวตนที่ดีของเขา ชมทันทีเมื่อลูกทำดี ชมเจาะจงไปที่พฤติกรรมดี นอกจากนั้น ยังสามารถกระตุ้นให้ลูกรู้จักแสดงความชื่นชมยินดีกับผู้อื่นด้วยความจริงใจได้อีกด้วย
.
“พ่อเห็นแม่ตั้งใจทำสปาเกตตี้จานนี้ให้ลูกมากเลย ลูกอยากจะบอกอะไรกับแม่ไหม?”
.
พ่อแม่ที่ใจดีและเข้าใจ จะช่วยให้ลูกเติบโตเป็นคนที่อ่อนโยนและใจดีผู้อื่นได้อย่างแท้จริง ความตั้งใจคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งและสำคัญที่สุดคือการเริ่มลงมือทำ
.
หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการฝึกทักษะ “การเลี้ยงลูกเชิงบวก” เพื่อปรับพฤติกรรมลูก ฝึกวินัยไปพร้อมกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว สามารถเรียนรู้แนวทางที่นำไปใช้ได้จริง ผ่าน “#คอร์สเลี้ยงลูกเชิงบวกออนไลน์” ที่จะได้เรียนรู้ถึง
.
เทคนิคสื่อสารเชิงบวก
การสร้างวินัยที่ลูกจะไม่ต่อต้าน
วิธีชื่นชม ให้รางวัลและการลงโทษที่ถูกต้อง
.
โดยคอร์สนี้จัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา และเรียนได้ฟรี!ไม่มีค่าใช้จ่าย เริ่มเลยได้ที่: https://www.netpama.com/
.
เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกันกับลูกนะคะ
.
#เมื่อเราถูกรักโดยลูกชายของใครสักคนที่ถูกเลี้ยงมาอย่างดี หลายคนคงเคยเห็นไวรัลที่ดังใน TikTok ซึ่งมีคลิปมากมายทั้งในมุมของลูกชายที่น่ารัก สามีที่ดีหรือคุณพ่อที่แสนอบอุ่น หลายคลิปนั้นน่ารักจนดูแล้วแอบใจฟูอดยิ้มตามไม่ได้เลย
.
มัมมี่B คิดว่าไม่ว่าจะลูกชายหรือลูกสาว พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนจิตใจดี มีความรับผิดชอบ อ่อนโยน และเข้าใจผู้อื่น มีความสุขได้ในแบบของเขา เป็นที่รักและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและผู้คนรอบตัว
.
วันนี้เราจึงมีข้อแนะนำเพื่อให้พ่อแม่เป็น “ใครคนนั้น” ที่เลี้ยงดูลูกด้วยความรักมาอย่างดี บ่มเพาะให้ลูกน้อยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่จิตใจดีมีคุณภาพ โดยทำได้ดังนี้
.
#ให้ความรักเป็นรากฐานความมั่นคงทางใจกับลูก
เด็กที่รู้สึกเป็นที่รักจะรู้จักมอบความรักให้กับผู้อื่น ลูกมักจะซึมซับการแสดงออกด้านความรักผ่านการเลี้ยงดูและความสัมพันธ์ในครอบครัว
.
มอบความรู้สึกเป็นที่รัก มั่นคงและปลอดภัยในใจของเขา รักและยอมรับชื่นชมในสิ่งที่ลูกเป็น รักลูกก็ควรพูดบอกและแสดงออกให้ลูกรู้บ่อยๆ เช่น บอกรัก อุ้มกอด พูดคุย รับฟัง เล่น หรืออ่านนิทานใช้เวลาร่วมกัน
.
#ฝึกวินัยและความมีน้ำใจให้กับลูก
การที่ลูกมีวินัยดูแลตัวเองได้ เช่น อาบน้ำ ทานข้าว แปรงฟัน รับผิดชอบกิจวัตรประจำวันได้ตามวัยของตนเอง จะทำให้ลูกรู้สึกมีคุณค่าและภาคภูมิใจ วินัยจะทำให้ลูกมีความรับผิดชอบหน้าที่ มีความยับยั้งชั่งใจ อดทนรอคอย มุ่งมั่นเพื่อไปสู่เป้าหมาย
.
เพิ่มโอกาสให้ลูกได้แสดงน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำเพื่อส่วนรวม เช่น การมอบหมายงานบ้าน หรือการช่วยงานจิตอาสา
.
#พ่อแม่เป็นแบบอย่างของความใจดีมีเมตตา
ทุกสิ่งที่พ่อแม่ทำจะสะสมเป็นพลังส่งต่อให้ลูก พ่อแม่คือเป็นต้นแบบของความใจดีและให้เกียรติผู้อื่นแม้ในเรื่องเล็กๆ เช่น การเปิดปิดประตูให้ เอื้อเฟื้อที่นั่ง หรือช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส พูดจาสุภาพและให้เกียรติทุกคน กล่าวขอบคุณแม้เป็นเรื่องเล็กน้อย หรือขอโทษอย่างจริงใจเมื่อทำผิดโดยไม่แก้ตัว
.
#สอนทักษะการสื่อสารเชิงบวกเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ทำได้โดยใช้การสื่อสารเชิงบวกกับลูก พูดคุยรับฟังกันด้วยความเข้าใจ ถึงจะเห็นต่างแต่ก็ยอมรับและเคารพในความรู้สึกและเหตุผลของอีกฝ่าย
.
รวมถึงการบอกรัก ขอโทษขอบคุณแสดงความห่วงใยต่อกันบ่อยๆ การคิดเพื่อแก้ปัญหามากกว่าการตำหนิ แทนการสั่งและบังคับด้วยการทำข้อตกลงหรือขอความร่วมมือ ใช้การชื่นชมให้กำลังใจเป็นแรงผลักดันแทนการลงโทษเพื่อให้กลัว
.
#ฝึกให้ลูกเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
หากรู้สึกว่ามีคนเข้าใจเขา ลูกจะเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น โดยพ่อแม่จะเป็นพื้นที่ปลอดภัย เคียงข้างรับฟังและยอมรับในทุกความรู้สึกของลูก ฟังเพื่อที่จะเข้าใจและโอบกอดความรู้สึก ไม่ใช่เพื่อสอนหรือตัดสิน แล้วจึงค่อยให้คำแนะนำเมื่อลูกต้องการ
.
#สอนให้ลูกมีความเห็นอกเห็นใจ
ชวนลูกพูดคุยเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกบ่อยๆ จะทำให้ลูกเข้าใจและสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสังเกต เรียนรู้ที่จะเข้าใจในอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นด้วย
.
ฝึกให้ลูกคิดผ่านนิทาน ละคร หรือ เรื่องราวต่างๆ เช่น คนที่ถูกวิจารณ์ลบๆจะรู้สึกอย่างไร ? อะไรทำให้คนนี้ทำร้าย/ช่วยเหลือคนอื่น ? แล้วถ้าเป็นลูกอยากจะทำอย่างไร ? เราจะช่วยอะไรได้บ้าง ?
.
#สอนให้ลูกรู้จักชื่นชมและยินดีกับผู้อื่น
การชมไม่เพียงเป็นการแสดงออกถึงการยอมรับ ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจ สร้างการรับรู้คุณค่าในตัวเอง (self esteem) และที่สำคัญเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วย
.
เด็กที่ได้รับการ #ชื่นชมบ่อยๆอย่างถูกวิธี จะซึมซับและเรียนรู้ที่จะชื่นชมผู้อื่น พ่อแม่สามารถชมลูกได้ทุกวัน โดยชมในตัวตนที่ดีของเขา ชมทันทีเมื่อลูกทำดี ชมเจาะจงไปที่พฤติกรรมดี นอกจากนั้น ยังสามารถกระตุ้นให้ลูกรู้จักแสดงความชื่นชมยินดีกับผู้อื่นด้วยความจริงใจได้อีกด้วย
.
“พ่อเห็นแม่ตั้งใจทำสปาเกตตี้จานนี้ให้ลูกมากเลย ลูกอยากจะบอกอะไรกับแม่ไหม?”
.
พ่อแม่ที่ใจดีและเข้าใจ จะช่วยให้ลูกเติบโตเป็นคนที่อ่อนโยนและใจดีผู้อื่นได้อย่างแท้จริง ความตั้งใจคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งและสำคัญที่สุดคือการเริ่มลงมือทำ
.
หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการฝึกทักษะ “การเลี้ยงลูกเชิงบวก” เพื่อปรับพฤติกรรมลูก ฝึกวินัยไปพร้อมกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว สามารถเรียนรู้แนวทางที่นำไปใช้ได้จริง ผ่าน “#คอร์สเลี้ยงลูกเชิงบวกออนไลน์” ที่จะได้เรียนรู้ถึง
.



.
โดยคอร์สนี้จัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา และเรียนได้ฟรี!ไม่มีค่าใช้จ่าย เริ่มเลยได้ที่: https://www.netpama.com/
.
เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกันกับลูกนะคะ


เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ