เพราะการที่ “แม่รักลูกไม่เท่ากัน” ส่งผลต่อชีวิตของลูกทุกคนอย่างแท้จริง
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว
#watchandlearn
เพราะการที่ “แม่รักลูกไม่เท่ากัน” ส่งผลต่อชีวิตของลูกทุกคนอย่างแท้จริง – บทเรียนพึงระวังสำหรับคุณแม่ลูก 2 (+) จากละครย้อนยุคสุดโรแมนติกแต่แฝงข้อคิดถึงปัญหาร่วมสมัย “หนึ่งในร้อย” บทความโดย #คุณนายข้าวกล่อง
.
หากให้พูดถึงละครยอดฮิตติดใจสักเรื่องหนึ่งในช่วงเวลานี้ เชื่อว่าหลายคนอาจเคยได้ยินละครความรักของ “คุณพระ” หรือละคร period สุดโรแมนติดอย่าง “หนึ่งในร้อย (My Cherie Amour)” กันมาบ้างนะคะ เพราะนอกจากว่าพระเอกอย่างคุณพระจะเป็นที่ประทับอกประทับใจต่อพวกเรา (และคุณนายข้าวกล่อง) อย่างมากแล้ว ละครเรื่องนี้ยังเป็นละครอีกเรื่องหนึ่งที่เล่าและสะท้อนถึงปัญหาร่วมสมัยในสังคมไทยได้อย่างดีเยี่ยมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอิทธิพลสังคมชายเป็นใหญ่ หรือเรื่องของการเลือกปฏิบัติกับบุคคลที่เป็นคนชายขอบของสังคม (คนที่ดู แปลก หรือดูไม่เข้ากับสังคม) ก็ตาม
.
นอกจากนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่ #คุณนายข้าวกล่อง มองว่าละครเรื่องนี้สามารถเล่าและสะท้อนออกมากได้อย่างดีมาก ๆ จนต้องลุกกลับขึ้นมาเขียนบอกต่อถึงพวกเราชาวผู้ปกครอง นั่นก็คือเรื่องของ “ปัญหาการเลี้ยงดูจากคนในครอบครัว” โดยเฉพาะในประเด็นเรื่อง “การแสดงออกที่ทำให้ลูกคิดว่าเราเลือกปฏิบัติหรือคิดว่าเรารักลูกไม่เท่ากัน” ที่สุดท้ายแล้วมันปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหานี้สามารถสร้างผลกระทบต่อลูกของเราได้จริง และไม่ใช่กับแค่คนใดคนหนึ่ง แต่สามารถส่งผลต่อลูก ๆ ทุกคนของเราได้จริง ๆ วันนี้เราเลยจะมาทำความเข้าใจกันว่าการเลี้ยงลูกที่ดูเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติเช่นนี้สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของลูกเราแต่ละคนได้อย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้เข้าใจถึงความ suffer ของลูกได้มากขึ้น และทำให้เราตระหนักต่อปัญหานี้มากขึ้นเช่นกัน โดยเราจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ผ่านชีวิตครอบครัวของพระเอกอย่าง “คุณพระ (แสดงโดยคุณต่อ ธนภพ)” และน้องชายของคุณพระหรือ “คุณชัช (แสดงโดยคุณมีน พีรวิชญ์)” กันค่ะ
.
[เนื้อหาต่อไปนี้อาจมีการสปอยล์]
.
คุณพระและคุณชัชเติบโตมาในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว คุณพระเป็นลูกคนโต ทำงานเป็นผู้พิพากษาเหมือนกับคุณพ่อ ส่วนคุณชัชเป็นลูกคนสุดท้อง ทำงานเป็นทหารข้าราชการ คุณแม่ของทั้งสองเป็นหม้ายเนื่องจากคุณพ่อเสียชีวิตด้วยโรคทายกาย ก่อนหน้านี้คุณพ่อถูกปรักปรำโดนตั้งข้อหาคดียักยอกเงินหลวงเนื่องจากลูกน้องของคุณพ่อขโมยเงินไป ตอนนั้นคุณพ่อตัดสินใจรับผิดชอบเองแต่หาเงินมาใช้ไม่ทัน เลยทำให้คุณพ่อต้องโดนปลดออกจากข้าราชการ เหตุการณ์นี้เลยส่งผลทำให้ที่บ้านเสื่อมเสียงชื่อเสียง และทำให้คุณแม่โกรธและน้อยใจคุณพ่อมาก มองว่าที่ชีวิตครอบครัวของตนเองต้องพังทลายลงเพราะสามีให้ความสำคัญกับคนอื่นมากกว่าครอบครัวของตนเอง
.
ในวันที่คุณพ่อป่วยและอาการทรุดลงอย่างหนัก คุณชัชยังเด็กมาก คุณพระเป็นลูกคนเดียวที่อยู่ในสถานการณ์และต้องคอยดูแลทั้งสภาพร่างกายของคุณพ่อและสภาพจิตใจของคุณแม่ เพราะในช่วงนั้นสภาพจิตใจของคุณแม่ย่ำแย่มากจนถึงขั้นอยากตรอมใจ แต่สุดท้ายคุณแม่ก็สามารถกลับมาตั้งสติและมีชีวิตอยู่ต่อได้เพราะตระหนักได้ว่ายังมีคุณชัช (ลูกเล็ก) ที่ต้องดูแล ซึ่งหลังจากนั้นคุณแม่ก็พยายามหาเลี้ยงลูก ๆ ที่เหลือทั้ง 4 คนมาด้วยตนเองจนมาถึงปัจจุบัน
.
จากความโกรธและความน้อยใจของคุณแม่ที่มีต่อคุณพ่อ คุณแม่เลยเริ่มแสดงออกถึงพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ดูเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติต่อคุณพระและคุณชัชมากขึ้น
.
คุณแม่เริ่มมีความกังวลลึก ๆ กับคุณพระเนื่องจากคุณพระทำงานเหมือนพ่อและมีนิสัยคล้ายพ่อที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น เลยกลัวว่าคุณพระจะสร้างบาดแผลทางใจให้ตนซ้ำเหมือนที่คุณพ่อทำ ความกังวลนี้เลยทำให้คุณแม่ชอบระเบิดอารมณ์กับคุณพระเวลาเจอเหตุการณ์ลักษณะที่คล้ายกัน รวมถึงชอบพูดตัดพ้อกับคุณพระเพื่อทำให้หันกลับมาดูแลตนเองและครอบครัวอยู่บ่อย ๆ การแสดงออกทางคำพูดและการกระทำของคุณแม่เลยทำให้คุณพระเข้าใจว่าตนไม่เคยดีพอในสายตาแม่เลยที่จะได้รับความรัก และบังคับทำให้คุณพระต้องทำมากขึ้นเพื่อครอบครัวทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงก็ทำมาดีโดยตลอด รวมถึงค่อย ๆ หล่อหลอมตัวตนคุณพระทำให้มักจะ look down ตนเองอยู่บ่อย ๆ มองว่าตนไม่ได้คู่ควรกับความรักหรืออะไรที่ดีเพราะตัวเองไม่ใช่คนที่ดีขนาดนั้นที่ควรได้รับรัก รวมถึงผลักดันให้คุณพระต้องทำเพื่อคนอื่นตลอดเวลาแม้จะรู้ตัวว่าตนเองไม่ไหวแล้วก็ตาม เรื่องราวชีวิตของคุณพระเลยถือว่าเป็นชีวิตที่ suffer ไม่น้อยเลยทีเดียวเพราะก็ไม่ต่างอะไรจากการใช้ชีวิตเป็น “ลูกชัง” ของคุณแม่เลย
.
แต่ในทางกลับกัน หลังจากเหตุการณ์เรื่องคุณพ่อ คุณแม่กลับดูแลประคบประหงมคุณชัชอย่างดีมาก เพราะลึก ๆ หวังอยากให้คุณชัชเติบโตเป็นคนดี มีการงานมั่นคง และสามารถอยู่กับตนไปได้จนแก่เฒ่าไม่ทอดทิ้งตน เพื่อจะได้เยียวยาปิดแผลใจจากเหตุการณ์ในอดีตจากเรื่องราวความเจ็บปวดของคุณพ่อ ความคาดหวังนี้นอกจากจะทำให้คุณแม่ดูแสดงความรักต่อคุณชัชมากกว่าลูกคนอื่นจนได้ฉายาว่าเป็น “ลูกรัก” แล้ว มันเลยทำให้คุณแม่มีพฤติกรรมหวงคุณชัชพ่วงตามมาด้วยเช่นกัน และไม่ใช่แค่หวงธรรมดา แต่หวงมากถึงขนาดยอมกีดกันและทำลายความรักอันบริสุทธิ์ของลูกที่มีต่อผู้หญิงอื่น รวมถึงพยายามหาผู้หญิงที่มีฐานะทางการเงินเข้ามาเป็นภรรยาคุณชัชแทน เพราะกลัวว่าลูกจะรักคนอื่นมากกว่าตนเองและกลัวว่าตนเองจะไม่มีที่ยืนต่อในสังคมเหมือนในอดีตอีกเช่นกัน การแสดงออกของคุณแม่ต่อคุณชัชเลยทำให้คุณชัชรู้สึกกดดันในตัวเองมาโดยตลอด รู้สึกเหนื่อยและเบื่อที่ต้องแบกความคาดหวังของแม่ตลอดเวลาจนน้อยใจที่พี่ ๆ ไม่โดนเลือกปฏิบัติแบบตน รู้สึกโกรธ หงุดหงิด และอึดอัดเพราะคุณแม่ชอบเข้ามายุ่งวุ่นวายชีวิตของตนเองและทำร้ายความรู้สึกของตนเองซ้ำ ๆ ความรู้สึกนี้เลยทำให้ชัชกล้าหนีออกจากบ้านมากับคนรักเพื่อจะได้หาโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ตามที่ตนต้องการ (แม้สุดท้ายเรื่องราวจะพาให้ตนต้องกลับมาที่บ้านก็ตาม) สิ่งนี้เลยทำให้เห็นได้ว่าการเลี้ยงดูอย่าง “ลูกรัก” นี้ก็ไม่ใช่ว่าจะส่งผลดีต่อลูกเสมอไปเช่นกัน และเผลอ ๆ อาจสร้างผลกระทบได้ไม่แพ้กับคนที่เป็นลูกชังเลยทีเดียว
.
จากตัวอย่างชีวิตคุณพระและคุณชัชนี้จึงอาจทำให้เห็นได้เลยว่าการเลี้ยงดูที่ดูเหมือน “รักลูกไม่เท่ากัน” จากคุณพ่อคุณแม่อย่างเราสามารถส่งผลต่อทุกอย่างของลูกได้จริง ๆ และหากลองพิจารณาจากเรื่องราวในละครนี้ดี ๆ จริง ๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าคุณแม่ของทั้งสองก็เก่งมากที่สามารถค่อย ๆ ดำเนินชีวิตต่อมาจนถึงปัจจุบันได้ เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นมันก็โหดร้ายต่อผู้หญิงคนหนึ่งมากจริง ๆ แต่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่โหดร้ายเช่นนี้ ก็อาจเป็นเพราะ “เขายังจัดการกับบาดแผลทางใจจากความเจ็บปวดที่เลวร้ายในอดีตไม่ได้” เหมือนกัน การกลับมาใส่ใจตัวเอง กลับมาดูแลสภาวะจิตใจของเราเองจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเหมือนกันที่จะทำให้การเลี้ยงดูของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น และยิ่งหากเรามีความรู้หรือรู้จักวิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้องเพิ่มพูนเข้าไป ส่วนตัวเชื่อว่าก็ยิ่งช่วยทำให้เราสามารถเลี้ยงลูกได้ยิ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งหากผู้ปกครองท่านใดสนใจ สามารถเข้าไปศึกษาต่อกันได้เลยที่ www.netpama.com
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
เพราะการที่ “แม่รักลูกไม่เท่ากัน” ส่งผลต่อชีวิตของลูกทุกคนอย่างแท้จริง – บทเรียนพึงระวังสำหรับคุณแม่ลูก 2 (+) จากละครย้อนยุคสุดโรแมนติกแต่แฝงข้อคิดถึงปัญหาร่วมสมัย “หนึ่งในร้อย” บทความโดย #คุณนายข้าวกล่อง
.
หากให้พูดถึงละครยอดฮิตติดใจสักเรื่องหนึ่งในช่วงเวลานี้ เชื่อว่าหลายคนอาจเคยได้ยินละครความรักของ “คุณพระ” หรือละคร period สุดโรแมนติดอย่าง “หนึ่งในร้อย (My Cherie Amour)” กันมาบ้างนะคะ เพราะนอกจากว่าพระเอกอย่างคุณพระจะเป็นที่ประทับอกประทับใจต่อพวกเรา (และคุณนายข้าวกล่อง) อย่างมากแล้ว ละครเรื่องนี้ยังเป็นละครอีกเรื่องหนึ่งที่เล่าและสะท้อนถึงปัญหาร่วมสมัยในสังคมไทยได้อย่างดีเยี่ยมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอิทธิพลสังคมชายเป็นใหญ่ หรือเรื่องของการเลือกปฏิบัติกับบุคคลที่เป็นคนชายขอบของสังคม (คนที่ดู แปลก หรือดูไม่เข้ากับสังคม) ก็ตาม
.
นอกจากนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่ #คุณนายข้าวกล่อง มองว่าละครเรื่องนี้สามารถเล่าและสะท้อนออกมากได้อย่างดีมาก ๆ จนต้องลุกกลับขึ้นมาเขียนบอกต่อถึงพวกเราชาวผู้ปกครอง นั่นก็คือเรื่องของ “ปัญหาการเลี้ยงดูจากคนในครอบครัว” โดยเฉพาะในประเด็นเรื่อง “การแสดงออกที่ทำให้ลูกคิดว่าเราเลือกปฏิบัติหรือคิดว่าเรารักลูกไม่เท่ากัน” ที่สุดท้ายแล้วมันปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหานี้สามารถสร้างผลกระทบต่อลูกของเราได้จริง และไม่ใช่กับแค่คนใดคนหนึ่ง แต่สามารถส่งผลต่อลูก ๆ ทุกคนของเราได้จริง ๆ วันนี้เราเลยจะมาทำความเข้าใจกันว่าการเลี้ยงลูกที่ดูเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติเช่นนี้สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของลูกเราแต่ละคนได้อย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้เข้าใจถึงความ suffer ของลูกได้มากขึ้น และทำให้เราตระหนักต่อปัญหานี้มากขึ้นเช่นกัน โดยเราจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ผ่านชีวิตครอบครัวของพระเอกอย่าง “คุณพระ (แสดงโดยคุณต่อ ธนภพ)” และน้องชายของคุณพระหรือ “คุณชัช (แสดงโดยคุณมีน พีรวิชญ์)” กันค่ะ
.
[เนื้อหาต่อไปนี้อาจมีการสปอยล์]
.
คุณพระและคุณชัชเติบโตมาในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว คุณพระเป็นลูกคนโต ทำงานเป็นผู้พิพากษาเหมือนกับคุณพ่อ ส่วนคุณชัชเป็นลูกคนสุดท้อง ทำงานเป็นทหารข้าราชการ คุณแม่ของทั้งสองเป็นหม้ายเนื่องจากคุณพ่อเสียชีวิตด้วยโรคทายกาย ก่อนหน้านี้คุณพ่อถูกปรักปรำโดนตั้งข้อหาคดียักยอกเงินหลวงเนื่องจากลูกน้องของคุณพ่อขโมยเงินไป ตอนนั้นคุณพ่อตัดสินใจรับผิดชอบเองแต่หาเงินมาใช้ไม่ทัน เลยทำให้คุณพ่อต้องโดนปลดออกจากข้าราชการ เหตุการณ์นี้เลยส่งผลทำให้ที่บ้านเสื่อมเสียงชื่อเสียง และทำให้คุณแม่โกรธและน้อยใจคุณพ่อมาก มองว่าที่ชีวิตครอบครัวของตนเองต้องพังทลายลงเพราะสามีให้ความสำคัญกับคนอื่นมากกว่าครอบครัวของตนเอง
.
ในวันที่คุณพ่อป่วยและอาการทรุดลงอย่างหนัก คุณชัชยังเด็กมาก คุณพระเป็นลูกคนเดียวที่อยู่ในสถานการณ์และต้องคอยดูแลทั้งสภาพร่างกายของคุณพ่อและสภาพจิตใจของคุณแม่ เพราะในช่วงนั้นสภาพจิตใจของคุณแม่ย่ำแย่มากจนถึงขั้นอยากตรอมใจ แต่สุดท้ายคุณแม่ก็สามารถกลับมาตั้งสติและมีชีวิตอยู่ต่อได้เพราะตระหนักได้ว่ายังมีคุณชัช (ลูกเล็ก) ที่ต้องดูแล ซึ่งหลังจากนั้นคุณแม่ก็พยายามหาเลี้ยงลูก ๆ ที่เหลือทั้ง 4 คนมาด้วยตนเองจนมาถึงปัจจุบัน
.
จากความโกรธและความน้อยใจของคุณแม่ที่มีต่อคุณพ่อ คุณแม่เลยเริ่มแสดงออกถึงพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ดูเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติต่อคุณพระและคุณชัชมากขึ้น
.
คุณแม่เริ่มมีความกังวลลึก ๆ กับคุณพระเนื่องจากคุณพระทำงานเหมือนพ่อและมีนิสัยคล้ายพ่อที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น เลยกลัวว่าคุณพระจะสร้างบาดแผลทางใจให้ตนซ้ำเหมือนที่คุณพ่อทำ ความกังวลนี้เลยทำให้คุณแม่ชอบระเบิดอารมณ์กับคุณพระเวลาเจอเหตุการณ์ลักษณะที่คล้ายกัน รวมถึงชอบพูดตัดพ้อกับคุณพระเพื่อทำให้หันกลับมาดูแลตนเองและครอบครัวอยู่บ่อย ๆ การแสดงออกทางคำพูดและการกระทำของคุณแม่เลยทำให้คุณพระเข้าใจว่าตนไม่เคยดีพอในสายตาแม่เลยที่จะได้รับความรัก และบังคับทำให้คุณพระต้องทำมากขึ้นเพื่อครอบครัวทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงก็ทำมาดีโดยตลอด รวมถึงค่อย ๆ หล่อหลอมตัวตนคุณพระทำให้มักจะ look down ตนเองอยู่บ่อย ๆ มองว่าตนไม่ได้คู่ควรกับความรักหรืออะไรที่ดีเพราะตัวเองไม่ใช่คนที่ดีขนาดนั้นที่ควรได้รับรัก รวมถึงผลักดันให้คุณพระต้องทำเพื่อคนอื่นตลอดเวลาแม้จะรู้ตัวว่าตนเองไม่ไหวแล้วก็ตาม เรื่องราวชีวิตของคุณพระเลยถือว่าเป็นชีวิตที่ suffer ไม่น้อยเลยทีเดียวเพราะก็ไม่ต่างอะไรจากการใช้ชีวิตเป็น “ลูกชัง” ของคุณแม่เลย
.
แต่ในทางกลับกัน หลังจากเหตุการณ์เรื่องคุณพ่อ คุณแม่กลับดูแลประคบประหงมคุณชัชอย่างดีมาก เพราะลึก ๆ หวังอยากให้คุณชัชเติบโตเป็นคนดี มีการงานมั่นคง และสามารถอยู่กับตนไปได้จนแก่เฒ่าไม่ทอดทิ้งตน เพื่อจะได้เยียวยาปิดแผลใจจากเหตุการณ์ในอดีตจากเรื่องราวความเจ็บปวดของคุณพ่อ ความคาดหวังนี้นอกจากจะทำให้คุณแม่ดูแสดงความรักต่อคุณชัชมากกว่าลูกคนอื่นจนได้ฉายาว่าเป็น “ลูกรัก” แล้ว มันเลยทำให้คุณแม่มีพฤติกรรมหวงคุณชัชพ่วงตามมาด้วยเช่นกัน และไม่ใช่แค่หวงธรรมดา แต่หวงมากถึงขนาดยอมกีดกันและทำลายความรักอันบริสุทธิ์ของลูกที่มีต่อผู้หญิงอื่น รวมถึงพยายามหาผู้หญิงที่มีฐานะทางการเงินเข้ามาเป็นภรรยาคุณชัชแทน เพราะกลัวว่าลูกจะรักคนอื่นมากกว่าตนเองและกลัวว่าตนเองจะไม่มีที่ยืนต่อในสังคมเหมือนในอดีตอีกเช่นกัน การแสดงออกของคุณแม่ต่อคุณชัชเลยทำให้คุณชัชรู้สึกกดดันในตัวเองมาโดยตลอด รู้สึกเหนื่อยและเบื่อที่ต้องแบกความคาดหวังของแม่ตลอดเวลาจนน้อยใจที่พี่ ๆ ไม่โดนเลือกปฏิบัติแบบตน รู้สึกโกรธ หงุดหงิด และอึดอัดเพราะคุณแม่ชอบเข้ามายุ่งวุ่นวายชีวิตของตนเองและทำร้ายความรู้สึกของตนเองซ้ำ ๆ ความรู้สึกนี้เลยทำให้ชัชกล้าหนีออกจากบ้านมากับคนรักเพื่อจะได้หาโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ตามที่ตนต้องการ (แม้สุดท้ายเรื่องราวจะพาให้ตนต้องกลับมาที่บ้านก็ตาม) สิ่งนี้เลยทำให้เห็นได้ว่าการเลี้ยงดูอย่าง “ลูกรัก” นี้ก็ไม่ใช่ว่าจะส่งผลดีต่อลูกเสมอไปเช่นกัน และเผลอ ๆ อาจสร้างผลกระทบได้ไม่แพ้กับคนที่เป็นลูกชังเลยทีเดียว
.
จากตัวอย่างชีวิตคุณพระและคุณชัชนี้จึงอาจทำให้เห็นได้เลยว่าการเลี้ยงดูที่ดูเหมือน “รักลูกไม่เท่ากัน” จากคุณพ่อคุณแม่อย่างเราสามารถส่งผลต่อทุกอย่างของลูกได้จริง ๆ และหากลองพิจารณาจากเรื่องราวในละครนี้ดี ๆ จริง ๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าคุณแม่ของทั้งสองก็เก่งมากที่สามารถค่อย ๆ ดำเนินชีวิตต่อมาจนถึงปัจจุบันได้ เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นมันก็โหดร้ายต่อผู้หญิงคนหนึ่งมากจริง ๆ แต่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่โหดร้ายเช่นนี้ ก็อาจเป็นเพราะ “เขายังจัดการกับบาดแผลทางใจจากความเจ็บปวดที่เลวร้ายในอดีตไม่ได้” เหมือนกัน การกลับมาใส่ใจตัวเอง กลับมาดูแลสภาวะจิตใจของเราเองจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเหมือนกันที่จะทำให้การเลี้ยงดูของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น และยิ่งหากเรามีความรู้หรือรู้จักวิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้องเพิ่มพูนเข้าไป ส่วนตัวเชื่อว่าก็ยิ่งช่วยทำให้เราสามารถเลี้ยงลูกได้ยิ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งหากผู้ปกครองท่านใดสนใจ สามารถเข้าไปศึกษาต่อกันได้เลยที่ www.netpama.com
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ