เลี้ยงหลานยังไงให้สมานฉันท์กันทั้งครอบครัว
เมื่อ 4 สัปดาห์ที่แล้ว
ปัญหาปวดเฮด กลุ้มฮาร์ด เลี้ยงหลานยังไงให้สมานฉันท์กันทั้งครอบครัว บทความโดย #น้องตัวกลม
.
ปัญหาการเลี้ยงลูกกับปู่ย่าตายายเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในหลายครอบครัว เพราะบทบาทและวิธีการเลี้ยงดูของแต่ละรุ่นอาจไม่เหมือนกัน พ่อแม่บางท่านอาจเลี่ยงไม่ได้ เพราะเนื่องจากว่าตัวเองไม่มีเวลาในการดูแลลูกในช่วงเวลานั้นๆ หรือบางครั้งพ่อแม่อาจจะต้องออกไปทำงาน ซึ่งลูกไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว ก็เลยต้องฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายาย
.
เมื่อเวลาเรามีลูกในยุคนี้เรามีทั้งความรัก ความเป็นห่วงในการเลี้ยงลูกว่าจะมีคุณภาพแบบไหน ลูกจะเสียคนไหมเมื่ออยู่กับปู่ย่าตายาย จะมีภัยร้ายต่อตัวลูกเราบ้างหรือเปล่า ซึ่งก็แตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา ความเป็นห่วงของเราก็ยิ่งมากขึ้น (ไม่ใช่เรื่องผิดเลยค่ะ) และบางครั้งเราอาจลืมตัวจนพยามไปกดดันให้พ่อแม่ของเราเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกให้กลายมาเป็นวิธีการที่เราเชื่อถือ ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่พ่อแม่เลี้ยงเรามานั่นเอง ทางออกคืออะไร และวิธีการรับมือปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทำแบบไหน วันนี้เราลองมาค่อยๆ ปรับกันดูนะคะ
.
#ใช้เหตุผลเพื่อหาสาเหตุ
เราต้องค่อยๆ หาเหตุผลให้เจอว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราเอาลูกไปฝากไว้กับปู่ย่าตายายเลี้ยง เช่น
เหตุผลของการไม่มีเวลา
การทำงานและภาระหน้าที่
ไว้ใจให้พ่อแม่ของเราเลี้ยงหลาน มากกว่าการจ้างพี่เลี้ยง
พ่อแม่ของเราอยากเป็นคนเลี้ยงดูหลานเองเพราะความรักและห่วงใยที่มีต่อหลานและต่อเรา
.
#หาข้อดีที่เราให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน
พ่อแม่ของเราเลี้ยงหลานแล้วทำให้เรารู้สึกสบายใจหรือว่ารู้สึกไว้วางใจ คือสิ่งที่ปู่ย่าตายายมอบให้กับหลานหรือลูกของเรานั่นเอง เมื่อหาข้อดีเจอแล้วให้ทำการ ‘ชื่นชม’ และยกขึ้นมาเป็นเหตุผลหลัก ในการขอบคุณพ่อแม่ของเรา การเริ่มต้นด้วยคำชื่นชมช่วยให้ปู่ย่าตายายรู้สึกได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าของเค้ามากขึ้นค่ะ เช่น
"หนูขอบคุณมากนะคะที่พ่อกับแม่ช่วยดูแลหลาน”
“หนูรู้ว่าลูกมีความสุขมากที่ได้ใช้เวลาอยู่กับคุณปู่คุณย่า"
"หลานชอบไปหาคุณปู่คุณย่าทุกครั้งเลยค่ะ พวกเราโชคดีมากที่มีปู่ย่าช่วยดูแล"
.
#หาข้อผิดพลาดที่ควรแก้ไข
เราอาจจะมองเห็นข้อผิดพลาด หรือข้อที่ควรปรับปรุงเพื่อที่จะเลี้ยงดูลูกตามความต้องการของพ่อแม่อย่างเรา เราต้องไม่ลืมไปว่ากรอบการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่เรา กับกรอบการเลี้ยงดูลูกของเรานั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นการที่เราจะให้พ่อแม่เลี้ยงลูกในกรอบความคิดของเรานั้นจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่นั่นไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรทำเลยเมื่อเราเจอข้อผิดพลาดคือ เรา ‘ไม่ควรตำหนิ’ พ่อแม่ของเรา การที่เราจะตำหนิ หรือพยายามสั่งสอนพ่อแม่ของเรานั้น ในบางครอบครัวอาจเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และไม่ควรทำ
.
เมื่อเกิดสิ่งที่ไม่ตรงใจเรา เราสามารถอธิบายความคิดหรือความต้องการของเราโดยการค่อยๆ อธิบายค่ะ เช่น
.
"มีเรื่องนึงที่หนูอยากคุยด้วยค่ะ คือเราพยายามสอนลูกให้รู้จักระเบียบ บางทีถ้าเราตามใจมากเกินไป เขาอาจไม่เข้าใจเรื่องกฎเกณฑ์ หนูเลยอยากขอความช่วยเหลือจากพ่อและแม่ช่วยดูแลเรื่องนี้ของหลานด้วยน้าาคะ"
.
"หนูเข้าใจว่าปู่ย่ารักหลานมาก แต่บางครั้งเราพยายามให้เขามีวินัยในบางเรื่อง เช่น เรื่องการกินขนม พอเขาได้เยอะๆ แล้วหนูรู้สึกว่าอาจทำให้ลูกติดขนมเกินไป"
.
#หาตัวช่วยเพื่อเปลี่ยนกรอบความคิด
หาตัวช่วยที่ทำให้พ่อแม่ของเราเปลี่ยนกรอบความคิดในการเลี้ยงลูก ให้กลายเป็นกรอบความคิดที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการ ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องฟังความคิดของพ่อแม่ของเราเป็นหลักก่อน เพราะอย่าลืมว่าพ่อแม่ของเราก็มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเรามาเช่นกัน และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีบางประเด็นทำให้เรารู้สึกไม่ค่อยสบายใจ สิ่งที่เราสามารถทำได้ต้องค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเค้าด้วยความใจเย็นค่ะ พยายามส่งข้อมูลที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อลูกของเรา อย่างการแชร์เนื้อหาการเลี้ยงลูกเชิงบวก (www.netpama.com) เพื่อที่จะให้พ่อแม่ของเราได้เรียนรู้ และการทำแบบนี้จะเป็นการค่อยๆ ‘เปิดประตูหัวใจ’ ของพ่อแม่เราเพื่อค่อยๆ เปลี่ยนกรอบในการเลี้ยงลูกให้กลายมาเป็นการเลี้ยงเด็กในยุคนี้
.
#หาข้อตกลงร่วมกัน
ลองหาข้อตกลงที่ทุกคนเห็นด้วย เช่น เวลาปู่ย่าตายายอยู่กับหลานจะมีกฎอะไรบ้าง หรือขีดจำกัดในการตามใจคืออะไร การมีข้อตกลงที่ชัดเจนช่วยลดความขัดแย้งและทำให้ทุกฝ่ายรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สิ่งไหนที่น่าจะทำ สิ่งไหนที่เราอยากให้พ่อแม่เราทำ บางครั้งพ่อและแม่ของเราอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิด 100% เราสามารถแสดงความยืดหยุ่นและยอมรับในบางเรื่องได้ค่ะ เช่น
"หนูเข้าใจว่าปู่ย่ามีประสบการณ์เลี้ยงดูลูกมาก่อน บางเรื่องหนูอาจจะเห็นต่างบ้าง แต่เราก็พร้อมที่จะเรียนรู้และหาทางออกที่ดีร่วมกันเพื่อหลานได้ค่ะ"
"หนูคิดว่าในบางเรื่องเราสามารถประนีประนอมกันได้ เพื่อให้หลานได้รับประโยชน์สูงสุดค่ะ"
.
#หาความสำคัญกับความรู้สึกของปู่ย่าตายาย
ทำการชื่นชมและส่งเสริมสนับสนุน เหมือนกับที่เราทำกับลูกของเราเลยค่ะ พ่อแม่ของเราเองก็ต้องการการยอมรับจากเราเช่นเดียวกัน แล้วเมื่อไหร่ก็ตาม ที่พ่อแม่ได้รับการยอมรับจากเรา พ่อแม่จะรู้สึกภูมิใจ และรู้สึกว่านี่คือสิ่งที่เขาอยากจะทำให้ดียิ่งขึ้น
.
การใช้คำพูดเชิงบวกและแสดงความเคารพจะช่วยให้การสื่อสารกับปู่ย่าตายายเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดความขัดแย้งที่เบาลงได้ ซึ่งเนื้อหาที่น้องตัวกลมกล่าวมาผู้ปกครองสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมแบบ เต็มเม็ด! เต็มหน่วย! ได้ที่ https://www.netpama.com/ สามารถเข้าไปเรียนได้ในคอร์สจัดเต็ม ซึ่งจัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา มีทั้งคลิปวิดีโอเรื่องราว ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้เลยได้จริง โดยเรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สุดท้ายนี้ทีมงาน Net PAMA ขอเป็นเพื่อนร่วมทางในการเติบโตของทุกครอบครัวและเป็นกำลังใจดวงใหญ่ๆ ให้กับผู้ปกครองและบรรดาปะป๊ามะม๊าทุกท่านเลยค่ะ
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
ปัญหาการเลี้ยงลูกกับปู่ย่าตายายเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในหลายครอบครัว เพราะบทบาทและวิธีการเลี้ยงดูของแต่ละรุ่นอาจไม่เหมือนกัน พ่อแม่บางท่านอาจเลี่ยงไม่ได้ เพราะเนื่องจากว่าตัวเองไม่มีเวลาในการดูแลลูกในช่วงเวลานั้นๆ หรือบางครั้งพ่อแม่อาจจะต้องออกไปทำงาน ซึ่งลูกไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว ก็เลยต้องฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายาย
.
เมื่อเวลาเรามีลูกในยุคนี้เรามีทั้งความรัก ความเป็นห่วงในการเลี้ยงลูกว่าจะมีคุณภาพแบบไหน ลูกจะเสียคนไหมเมื่ออยู่กับปู่ย่าตายาย จะมีภัยร้ายต่อตัวลูกเราบ้างหรือเปล่า ซึ่งก็แตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา ความเป็นห่วงของเราก็ยิ่งมากขึ้น (ไม่ใช่เรื่องผิดเลยค่ะ) และบางครั้งเราอาจลืมตัวจนพยามไปกดดันให้พ่อแม่ของเราเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกให้กลายมาเป็นวิธีการที่เราเชื่อถือ ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่พ่อแม่เลี้ยงเรามานั่นเอง ทางออกคืออะไร และวิธีการรับมือปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทำแบบไหน วันนี้เราลองมาค่อยๆ ปรับกันดูนะคะ
.
#ใช้เหตุผลเพื่อหาสาเหตุ
เราต้องค่อยๆ หาเหตุผลให้เจอว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราเอาลูกไปฝากไว้กับปู่ย่าตายายเลี้ยง เช่น
เหตุผลของการไม่มีเวลา
การทำงานและภาระหน้าที่
ไว้ใจให้พ่อแม่ของเราเลี้ยงหลาน มากกว่าการจ้างพี่เลี้ยง
พ่อแม่ของเราอยากเป็นคนเลี้ยงดูหลานเองเพราะความรักและห่วงใยที่มีต่อหลานและต่อเรา
.
#หาข้อดีที่เราให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน
พ่อแม่ของเราเลี้ยงหลานแล้วทำให้เรารู้สึกสบายใจหรือว่ารู้สึกไว้วางใจ คือสิ่งที่ปู่ย่าตายายมอบให้กับหลานหรือลูกของเรานั่นเอง เมื่อหาข้อดีเจอแล้วให้ทำการ ‘ชื่นชม’ และยกขึ้นมาเป็นเหตุผลหลัก ในการขอบคุณพ่อแม่ของเรา การเริ่มต้นด้วยคำชื่นชมช่วยให้ปู่ย่าตายายรู้สึกได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าของเค้ามากขึ้นค่ะ เช่น
"หนูขอบคุณมากนะคะที่พ่อกับแม่ช่วยดูแลหลาน”
“หนูรู้ว่าลูกมีความสุขมากที่ได้ใช้เวลาอยู่กับคุณปู่คุณย่า"
"หลานชอบไปหาคุณปู่คุณย่าทุกครั้งเลยค่ะ พวกเราโชคดีมากที่มีปู่ย่าช่วยดูแล"
.
#หาข้อผิดพลาดที่ควรแก้ไข
เราอาจจะมองเห็นข้อผิดพลาด หรือข้อที่ควรปรับปรุงเพื่อที่จะเลี้ยงดูลูกตามความต้องการของพ่อแม่อย่างเรา เราต้องไม่ลืมไปว่ากรอบการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่เรา กับกรอบการเลี้ยงดูลูกของเรานั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นการที่เราจะให้พ่อแม่เลี้ยงลูกในกรอบความคิดของเรานั้นจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่นั่นไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรทำเลยเมื่อเราเจอข้อผิดพลาดคือ เรา ‘ไม่ควรตำหนิ’ พ่อแม่ของเรา การที่เราจะตำหนิ หรือพยายามสั่งสอนพ่อแม่ของเรานั้น ในบางครอบครัวอาจเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และไม่ควรทำ
.
เมื่อเกิดสิ่งที่ไม่ตรงใจเรา เราสามารถอธิบายความคิดหรือความต้องการของเราโดยการค่อยๆ อธิบายค่ะ เช่น
.
"มีเรื่องนึงที่หนูอยากคุยด้วยค่ะ คือเราพยายามสอนลูกให้รู้จักระเบียบ บางทีถ้าเราตามใจมากเกินไป เขาอาจไม่เข้าใจเรื่องกฎเกณฑ์ หนูเลยอยากขอความช่วยเหลือจากพ่อและแม่ช่วยดูแลเรื่องนี้ของหลานด้วยน้าาคะ"
.
"หนูเข้าใจว่าปู่ย่ารักหลานมาก แต่บางครั้งเราพยายามให้เขามีวินัยในบางเรื่อง เช่น เรื่องการกินขนม พอเขาได้เยอะๆ แล้วหนูรู้สึกว่าอาจทำให้ลูกติดขนมเกินไป"
.
#หาตัวช่วยเพื่อเปลี่ยนกรอบความคิด
หาตัวช่วยที่ทำให้พ่อแม่ของเราเปลี่ยนกรอบความคิดในการเลี้ยงลูก ให้กลายเป็นกรอบความคิดที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการ ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องฟังความคิดของพ่อแม่ของเราเป็นหลักก่อน เพราะอย่าลืมว่าพ่อแม่ของเราก็มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเรามาเช่นกัน และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีบางประเด็นทำให้เรารู้สึกไม่ค่อยสบายใจ สิ่งที่เราสามารถทำได้ต้องค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเค้าด้วยความใจเย็นค่ะ พยายามส่งข้อมูลที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ต่อลูกของเรา อย่างการแชร์เนื้อหาการเลี้ยงลูกเชิงบวก (www.netpama.com) เพื่อที่จะให้พ่อแม่ของเราได้เรียนรู้ และการทำแบบนี้จะเป็นการค่อยๆ ‘เปิดประตูหัวใจ’ ของพ่อแม่เราเพื่อค่อยๆ เปลี่ยนกรอบในการเลี้ยงลูกให้กลายมาเป็นการเลี้ยงเด็กในยุคนี้
.
#หาข้อตกลงร่วมกัน
ลองหาข้อตกลงที่ทุกคนเห็นด้วย เช่น เวลาปู่ย่าตายายอยู่กับหลานจะมีกฎอะไรบ้าง หรือขีดจำกัดในการตามใจคืออะไร การมีข้อตกลงที่ชัดเจนช่วยลดความขัดแย้งและทำให้ทุกฝ่ายรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สิ่งไหนที่น่าจะทำ สิ่งไหนที่เราอยากให้พ่อแม่เราทำ บางครั้งพ่อและแม่ของเราอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิด 100% เราสามารถแสดงความยืดหยุ่นและยอมรับในบางเรื่องได้ค่ะ เช่น
"หนูเข้าใจว่าปู่ย่ามีประสบการณ์เลี้ยงดูลูกมาก่อน บางเรื่องหนูอาจจะเห็นต่างบ้าง แต่เราก็พร้อมที่จะเรียนรู้และหาทางออกที่ดีร่วมกันเพื่อหลานได้ค่ะ"
"หนูคิดว่าในบางเรื่องเราสามารถประนีประนอมกันได้ เพื่อให้หลานได้รับประโยชน์สูงสุดค่ะ"
.
#หาความสำคัญกับความรู้สึกของปู่ย่าตายาย
ทำการชื่นชมและส่งเสริมสนับสนุน เหมือนกับที่เราทำกับลูกของเราเลยค่ะ พ่อแม่ของเราเองก็ต้องการการยอมรับจากเราเช่นเดียวกัน แล้วเมื่อไหร่ก็ตาม ที่พ่อแม่ได้รับการยอมรับจากเรา พ่อแม่จะรู้สึกภูมิใจ และรู้สึกว่านี่คือสิ่งที่เขาอยากจะทำให้ดียิ่งขึ้น
.
การใช้คำพูดเชิงบวกและแสดงความเคารพจะช่วยให้การสื่อสารกับปู่ย่าตายายเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดความขัดแย้งที่เบาลงได้ ซึ่งเนื้อหาที่น้องตัวกลมกล่าวมาผู้ปกครองสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมแบบ เต็มเม็ด! เต็มหน่วย! ได้ที่ https://www.netpama.com/ สามารถเข้าไปเรียนได้ในคอร์สจัดเต็ม ซึ่งจัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา มีทั้งคลิปวิดีโอเรื่องราว ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้เลยได้จริง โดยเรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
สุดท้ายนี้ทีมงาน Net PAMA ขอเป็นเพื่อนร่วมทางในการเติบโตของทุกครอบครัวและเป็นกำลังใจดวงใหญ่ๆ ให้กับผู้ปกครองและบรรดาปะป๊ามะม๊าทุกท่านเลยค่ะ
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ