window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
เมื่อพ่อแม่รับฟังและเข้าใจความรู้สึกลูกมากพอ ลูกจะเข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกเราได้เช่นกัน
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว

มัมมี่B มีเรื่องเล่าค่ะ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา คุณยายของเด็กๆ เพิ่งเสียซึ่งค่อนข้างกระทันหัน ถึงคุณยายจะมีโรคประจำตัวก็ยังแข็งแรง ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากจนแม่แทบตั้งรับไม่ทัน


เช้าวันรุ่งขึ้นในขณะที่กำลังคิดว่าจะบอกข่าวกับลูกวัย 12 และ 7 ปีอย่างไรดี ลูกตื่นขึ้นมาก่อนเห็นแม่นั่งร้องให้อยู่ แม่เลยดึงลูกมากอด


ลูก : มะม๊าเป็นอะไร …ร้องให้ทำไม

แม่ : เมื่อคืน อาม่า(คุณยาย)ตายแล้ว 

ลูก : อาม่าตายแล้วเหรอ …ลูกดูตกใจและน้ำตาลูกก็ค่อยๆไหลออกมา

แม่: ใช่ หนูรู้สึกยังไงบ้าง .. บอกมะม๊าได้เลยนะ 

ลูก : มะม๊า มะม๊า ร้องไห้ได้เลยนะ ไม่เป็นไร หนูรู้ว่า…มะม๊าร้องไห้เพราะเสียใจที่อาม่าตาย พวกหนูก็เศร้ามากๆ เหมือนกัน 


เมื่อได้รับรู้ว่า…ลูกเข้าใจถึงความรู้สึกของแม่

แม่ยิ่งร้องไห้มากขึ้น

ในขณะที่พวกเรากอดกันร้องไห้นั้น 

ไม่ต้องมีคำพูดปลอบใจใดๆ 

ไม่มีใครบอกให้ใครต้องหยุดร้อง 

เราทุกคนได้ใช้เวลา …ระบายความรู้สึก 

ความโศกเศร้าและความเสียใจออกมาเต็มที่…


เวลาที่ลูกเล่าอะไรให้เราฟัง เช่น ระบายความรู้สึกจากเรื่องที่โรงเรียน ปัญหา หรือสิ่งที่ลูกทำผิดพลาด ด้วยความรักความห่วงใย บางทีทำให้พ่อแม่เผลอพูดขัด หรือ สอน หรือ ตัดบทโดยปลอบใจลูกทันที เหล่านี้อาจทำให้ลูกเข้าใจว่า พ่อแม่ไม่ฟังและไม่เข้าใจในความรู้สึกของเขาเลย


- การสะท้อนความรู้สึกลูกจะบ่งบอกถึงการรับฟังด้วยความเข้าใจของพ่อแม่ -


หลักการสะท้อนความรู้สึกลูก คือ การพูดสะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของลูกหลังจากการฟังลูกเล่าจนจบ เพื่อให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่รับฟัง รับรู้และเข้าใจในความรู้สึกของเขาอย่างแท้จริง บอกลูกด้วยน้ำเสียง ท่าที ภาษากายที่บ่งบอกว่า พ่อแม่เข้าใจว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร และเพราะอะไร เช่น


"แม่รู้ว่า ลูกโกรธ ที่น้องแย่งของเล่นไปจากมือหนูโดยไม่ขอ"

"แม่เข้าใจว่า หนูน้อยใจที่แม่กอดแต่น้อง มาๆ ให้แม่กอดหนูแน่นๆ 100 ที แม่รักหนูนะจ๊ะ"

"พ่อเข้าใจว่า ลูกผิดหวังมาก ที่พยายามเต็มที่แต่ยังไม่ได้รับเลือก ทั้งๆ ที่ตั้งใจขนาดนี้ เป็นพ่อก็คงรู้สึกเหมือนกัน"


การสะท้อนความรู้สึกของลูก จะทำให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่นั้นรับฟังและเข้าใจ พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเขา ความรู้สึกของเขานั้นสำคัญ และ เมื่อเรารับฟังและเข้าใจลูกให้มากพอ ลูกก็จะรับฟังและเข้าใจความรู้สึกของพ่อแม่ได้เช่นกัน


(สามารถศึกษาเพิ่มเติมทักษะสะท้อนความรู้สึกจากคอร์สจัดเต็มที่ www.netpama.comบทที่ 2 ทักษะพื้นฐานในการสื่อสาร **) 


มัมมี่Bชวนเมาท์ พยายามที่จะเรียนรู้โดยใช้หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวก พูดคุยรับฟังลูก แสดงความเข้าใจโดยใช้การสะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของลูกมาตลอด ที่ผ่านมา อาจทำถูกบ้าง หรือทำผิดพลาดกับลูกไปบ้าง แต่ก็พยายามเรื่อยมา จนมาในวันที่แม่เจอกับเหตุการณ์ที่เสียใจมาก…พบว่า ลูกรับรู้โดยสะท้อนความรู้สึกของแม่ออกมาด้วยความเข้าใจเช่นเดียวกัน 


สำหรับแม่คนหนึ่ง นี่คือบทพิสูจน์ของคำว่า ลูกคือกระจกสะท้อนตัวเรา อย่างแท้จริง 


ขอบคุณลูกที่ช่วยให้แม่ได้เรียนรู้ และอยากที่พัฒนาตัวเองเป็นแม่ที่ดีขึ้นตลอดเวลา ????


หากท่านใดที่ต้องการที่จะเริ่มต้นทำความรู้จักและเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวก สามารถลงทะเบียนเรียนฟรีกับ Netpama ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ www.netpama.com ค่ะ  

  • โดยบทเรียนพ่อแม่จะได้เรียนรู้ถึง
    ปัจจัยต่างๆในการปรับพฤติกรรมลูก 
  • ทักษะในการสื่อสาร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกและทุกคนในครอบครัว พูดให้ลูกอยากฟัง อยากทำตาม ฟังอย่างไรให้ลูกอยากเล่า 
  • เทคนิคการชม ทำให้ลูกมีกำลังใจ อยากพัฒนาด้วยตัวเอง
  • การให้รางวัลที่ถูกต้อง เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมดีของลูก
  • การลงโทษที่ถูกวิธี เพื่อลดพฤติกรรมลบโดยที่ลูกไม่ต่อต้าน 

เรียนรู้และเติบโตไปด้วยกันกับลูกนะคะ


บทความโดย มัมมี่Bชวนเม้าท์

NET PaMa