window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
เราทุกคนอาจเป็น “สัตว์ประหลาด” ในเรื่องเล่าของผู้อื่นได้เสมอ
เมื่อ 1 เดือนที่แล้ว

ลูกเราเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้จากโรงเรียนไหมคะ ?

Spoiler Alert * บทความด้านล่างมีการเปิดเผยเนื้อหาภาพยนตร์


“ Monster”  ภาพยนตร์รางวัลบทยอดเยี่ยม ทาง Netflix เป็นเรื่องราวของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่อาศัยอยู่กับลูกชายวัยประถมตามลำพัง เธอสังเกตว่า “มินาโตะ“ ลูกชายเก็บตัวและเริ่มมีท่าทีแปลกไป เธอพบเศษดินในกระติกน้ำลูก จู่ ๆ เขาตัดผมตัวเองกระจายทั่วห้อง จนมาวันหนึ่งมินาโตะหายไปจากบ้านกลางดึก ในขณะที่เธอออกไปตามลูกจนพบและกำลังพากลับบ้าน เด็กชายได้กระโดดลงจากรถ แม่สงสัยว่าเขาต้องโดนรังแกหรือเกิดเรื่องที่โรงเรียน จึงคาดคั้น จนในที่สุด มินาโตะเล่าว่า เขาถูก “คุณครูโฮริ“ ครูที่โรงเรียนลงโทษด้วยการใช้ความรุนแรงจนกระทบกระเทือนจิตใจอย่างหนัก


แม่โกรธมากจึงไปพูดคุยที่โรงเรียน แม้จะได้รับคำขอโทษจากครูโฮริผู้อำนวยการและบรรดาคุณครู แต่เธอกลับไม่รู้สึกถึงความสำนึกผิดอย่างแท้จริงจากทุกคนเลย


ทาง “ครูโฮริ” ในตอนแรกเขายอมรับและขอโทษในสิ่งที่ทำลงไป แต่สุดท้ายครูกลับยืนยันว่า เขาไม่เคยทำโทษโดยการใช้ความรุนแรงกับมินาโตะ ที่จริงแล้วลูกชายของเธอต่างหากที่เป็นเด็กเกเรและมักรังแกเพื่อนคนหนึ่งบ่อย ๆ ในขณะที่ มินาโตะ อาละวาดทำลายข้าวของเพื่อน ครูพยายามห้าม มือของเขาจึงได้ปัดถูกใบหน้าของเด็กชายโดยไม่เจตนา


ข่าวลือต่าง ๆ แพร่สะพัด  “เพราะความจริงมีหนึ่งเดียว” ความจริงจึงเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ 


มัมมี่Bเชื่อว่า เราต่างต้องเคยเจอเหตุการณ์นี้ทั้งกับตัวเอง คนใกล้ตัว หรือจากประเด็นต่าง ๆ ในสังคมหรือในโลกโซเชี่ยล เมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะหรือขัดแย้งกัน ต่างฝ่ายมักจะบอกว่าตัวเองไม่ผิด และมักกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของอีกฝ่ายเสมอ เราทุกคนมีโอกาสเป็นตัวร้ายหรือสัตว์ประหลาดในเรื่องเล่าของผู้อื่นได้ตลอดเวลา


แม้ไม่รู้ข้อเท็จจริงทั้งหมด แต่บางคนกลับสนุกกับคำว่า “ทัวร์ลง” สนุกที่ได้มีส่วนร่วมในการบอกต่อ แชร์ต่อ วิพากษ์วิจารณ์ ด่าทอผู้อื่นจากข่าวลือ หรือจากเพียงสิ่งที่เห็นหรือได้ยินมาทันที หลายครั้งพบว่า ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น 

และผู้ถูกวิจารณ์นั้นกลับเป็นฝ่ายเสียหาย และได้รับผลกระทบอย่างหนัก ถูกสังคมตัดสินพิพากษาไปแล้วต่าง ๆ นานา


บางคนอาจคิดว่า เป็นสิทธิ์ที่จะวิจารณ์ผู้อื่นโดยเฉพาะในโลกโซเชียลเพราะใครๆก็ทำกัน ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว สิ่งนี้คือการ “การละเมิดสิทธิ์” ผู้อื่น


เราควรสอนให้ลูกรู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ( Critical Thinking ) โดยอยู่บนหลักของข้อเท็จจริง พิจารณาจากเหตุและผล ไม่นำอารมณ์หรือความเห็นส่วนตัวมาตัดสินความถูกผิดของผู้อื่น ...โดยเริ่มที่พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก


อย่าตัดสินใครจากเพียงสิ่งที่เราเห็นหรือได้ยิน เพราะความจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น  คนทุกคนไม่ได้มีแต่ด้านขาวหรือดำ บางเรื่องอาจเป็นสีเทาขึ้นอยู่กับมุมที่มอง


ชวนลูกคิดและพูดคุยบ่อย ๆ ในประเด็นต่าง ๆ โดยสอนให้ลูกรู้จักตั้งคำถาม เพราะอะไร ทำไม  คิดทบทวนให้แน่ใจ ก่อนที่จะเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง


สอนให้ลูกรักและเคารพตัวเองรวมถึงผู้อื่น เริ่มด้วยพ่อแม่ให้ความรักและเคารพลูก รู้จักที่จะเห็นอกเห็นใจ ไม่ตัดสินตัวเองด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ของใคร อย่ายอมเป็นเหยื่อคำวิจารณ์ รวมถึงไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยการวิจารณ์และตัดสินเขาง่าย ๆ โดยใช้คำแก้ตัวภายหลังว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์”


สอนให้ลูกเข้าใจว่า สิ่งลบ ๆ ที่ผู้คน พูด พิมพ์ หรือ วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นโดยไม่ใช้สติ คิดวิเคราะห์ แยกแยะ ไตร่ตรองข้อเท็จจริง ไม่ได้สะท้อนคุณค่าตัวตนผู้ที่ถูกกล่าวถึง แต่ สะท้อนคุณค่าตัวตนและความคิดลบของตัวผู้พูดเอง


เด็กๆ จะเติบโตแบบคิดบวกได้ ต้องได้รับการเลี้ยงดูในทางบวก เติบโตบนในความสัมพันธ์ที่ดี เคารพกฎระเบียบ มีวินัยที่ดี ซึ่งทั้งหมดได้ถูกรวบรวมไว้ในคอร์สจัดเต็ม ซึ่งจัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา ที่www.netpama.com มีทั้งคลิปวีดิโอเรื่องราว ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้เลยได้จริง โดยเรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ


เรียนรู้และเติบโตไปกับลูกนะคะ ♥️



บทความโดย มัมมี่Bชวนเมาท์

NET PaMa