window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
TikTok เป็นภัยต่อเด็กและวัยรุ่น ? พ่อแม่จะช่วยดูแลได้อย่างไร
เมื่อ 11 เดือนที่แล้ว

#เรื่องเล่างานวิจัย 

 

TikTok เป็นภัยต่อเด็กและวัยรุ่น? – รีวิวและรวบรวมงานวิจัยจิตวิทยาเกี่ยวกับการใช้แอพพลิเคชั่น TikTok ในเด็กและวัยรุ่น โดย #คุณนายข้าวกล่อง 

 

ทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าแอพพลิเคชั่นวีดีโอสั้นสุดฮิตอย่างติ๊กตอก (TikTok) นั้นเป็นที่นิยมและโด่งดังมากในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องด้วยเจ้าสิ่งนี้ช่วยสร้างความบันเทิง ความตลก ความรื่นเริงใจให้เราอย่างมาก ท่ามกลางโลกและชีวิตอันแสนตึงเครียดและโหดร้าย 

 

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าผู้ปกครองหลายท่าน ก็คงมีความกังวลใจไม่น้อยกับเจ้าแอพพลิเคชั่นยอดฮิตนี้ เพราะแม้มันจะสร้างความสนุกและความจรรโลงใจแก่ผู้ใช้งานได้อย่างมหาศาล แต่สำหรับผู้ใช้ที่เป็นเด็กและวัยรุ่น’ (aka ลูกสุดที่รักของเรา!) การเล่นแอพฯ นี้จะส่งผลเสียอะไรต่อพวกเขาหรือเปล่า? เนื่องจากว่าคอนเทนต์ในแอพฯ มีความหลากหลาย สามารถสรรสร้างได้จากผู้คนหลาย generation แถมยังสามารถเปิดโอกาสให้เกิดการ make friend หรือพูดคุยกันได้อีกด้วย 

 

วันนี้เราเลยจะมาหาคำตอบให้กับคำถามนี้กัน ผ่านมุมมองของ #เรื่องเล่างานวิจัย ???? 

 

จากงานวิจัย สิ่งหนึ่งน่าสนใจมากเกี่ยวกับเจ้าแอพฯ นี้ก็คือ จริง แล้วติ๊กตอกก็ถือว่าเป็นแอพฯ ที่ไม่ได้สร้างผลร้ายอะไรต่อคนใช้มากมายหากไม่ได้ใช้มันมากจนเกินไป และมันก็มีเหตุผลที่น่าสนใจเหมือนกันที่ทำให้บุคคลตัดสินใจเลือกที่จะเข้าไปใช้แอพฯ นั้น รวมไปถึงข้อดีอื่น ด้วยเหมือนกัน 

 

โดยสาเหตุที่คน (โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่น) ตัดสินใจเล่นติ๊กตอกนั้นเป็นเพราะต้องการตอบสนองความต้องการของตนเองบางอย่าง ตามหลักทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Theory) ซึ่งผลงานวิจัยของ Bossen และ Kottasz พบว่าเด็กตัดสินใจใช้ติ๊กตอกด้วยความต้องการหลายประการนอกเหนือจากเพื่อเสพความบันเทิงเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อใช้หาข้อมูลความรู้ เพื่ออัพเดตข่าวสารหรือติดตามวิถีชีวิตของผู้คน สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น สร้างตัวตนและแสดงออกถึงตัวตนของตนเอง เพื่อใช้และโชว์ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง จนไปถึงเพื่อสร้างชื่อเสียงต่อตนเอง 

 

และแม้ว่าติ๊กตอกดูจะเป็นสื่อที่สร้างความกังวลใจแก่พวกเราชาวผู้ปกครอง แต่มันก็อาจไม่ได้เป็นแอพฯ ที่แย่อย่างที่คิดเสียทีเดียวหากเปรียบเทียบกับ social media ประเภทอื่น อ้างอิงจากงานวิจัยของ Masciantonio และคณะ ที่พบว่าการใช้ติ๊กตอกนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องต่อสุขภาวะโดยรวมที่แย่หรือดีของผู้ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าผู้ใช้จะใช้แอพฯ เพื่อเสพย์คอนเทนต์เฉย (passive use) หรือเพื่อพูดคุย เผยแพร่ หรือสร้างคอนเทนต์ (active use) แม้ว่าอาจจะมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณตัวอย่างงานวิจัยที่มีค่อนข้างน้อยเพราะตัวอย่างไม่ค่อยเล่นติ๊กตอกก็ตาม แตกต่างกับ social media ประเภทอื่น เช่น Facebook Twitter หรือ Instagram ที่ส่งผลต่อสุขภาวะโดยรวมของผู้ใช้ ที่บางแอพฯ อาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบตนเองกับสังคมในเชิงที่มองว่าคนอื่นเหนือกว่าตนเอง หรือทำให้เกิดอารมณ์เชิงลบต่าง (เช่น เศร้า วิตกกังวล หดหู่ ไม่มีความสุข) หรือบางแอพฯ ก็อาจสร้างผลดีต่อผู้ใช้ได้เช่นกัน (เช่น รู้สึกมั่นใจ มีความหวัง ได้รับกำลังใจ มองโลกในแง่ดี) โดยจะดีหรือแย่นั้นต้องพิจารณาถึงวิธีการใช้แอพฯ ของแต่ละบุคคลควบคู่ไปด้วย 

 

ยิ่งไปกว่านั้น ติ๊กตอกยังถือว่าเป็นแหล่ง support system ที่ค่อนข้างดีเหมือนกันเพราะมันช่วยให้คนได้รับการสนับสนุนทางใจและการยืนยันตัวตนได้อย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย แถมก็ดูจะเป็น platform ที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพจิตได้มาก เพราะผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ซึ่งก็รวมถึงนักจิตบำบัดหลาย คนก็ตัดสินใช้ติ๊กตอกเป็นพื้นที่ในการให้ข้อมูลผู้คนเรื่องสุขภาพจิตที่ถูกต้อง ขนาดว่ากรมสุขภาพจิตของประเทศไทยเรายังใช้ platform นี้ในการกระจายข้อมูลเพื่อให้คนได้เข้าใจและเข้าถึงเรื่องราวของสุขภาพจิตมากขึ้น จนถึงขั้นได้รับรางวัล Social Impact Partner of the Year จากติ๊กตอกปี 2022 เลยทีเดียว  

 

แต่การเล่นติ๊กตอกที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียที่ค่อนข้างร้ายแรงเช่นกันกับเด็กและวัยรุ่น งานวิจัยของ Sha และ Dong ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเสพย์ติดติ๊กตอก (Tiktok Use Disorder) ซึ่งหมายถึงสภาวะเช่น เริ่มเล่นติ๊กตอกนานกว่าที่คิดไว้ เริ่มมีปัญหาทางสุขภาพจากการเล่น เช่น ปวดหลัง คอ หรือข้อมือ เริ่มคิดถึงติ๊กตอกมากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันต่าง เช่น การทำงานหรือการเรียน หรือมีคนเริ่มบอกว่าติดติ๊กตอก กับภาวะซึมเศร้า (Depression) ความวิตกกังวล (anxiety) และการสูญเสียความจำ (Memory Loss) ของเด็กมัธยมปลายในประเทศจีนกว่า 3,000 คน พบว่าเด็กที่เสพย์ติดติ๊กตอกสูงนั้นมีภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลสูง และมีความสามารถในการจำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลเป็นตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียความจำ สอดคล้องไปกับงานวิจัยในปากีสถานของ Dr. Muniba Fatima Zahra และคณะ ที่พบว่านักศึกษาชาวปากีสถานระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่เสพย์ติดการเล่นติ๊กตอก มีผลการเรียนที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบด้วยว่าผลการเรียนที่แย่ลงเป็นตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลที่มากขึ้น ซึ่ง Dr. Muniba Fatima Zahra และคณะมองว่าสาเหตุที่ผลการเรียนแย่ลงเป็นเพราะว่าการติดติ๊กตอกอาจมีความคล้ายคลึงกับกับการติดสารเสพย์ติด อ้างอิงจากกระบวนการเรียนรู้และการให้รางวัลที่สามารถอธิบายได้จากระบบการทำงานของสาร Dopamine ในสมอง ที่อาจส่งผลต่อระบบความจำและทัศนคติของการเรียนรู้ ทำให้สุดท้ายแล้วมีผลการเรียนที่แย่ลง  

 

และสำหรับเด็กที่เพิ่งเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น (Pre-adolescents) งานวิจัยของ Bossen และ Kottasz ให้คำแนะนำว่าสื่ออย่างติ๊กตอกอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบต่อเด็กวัยนี้ได้ คือเด็กอาจเลียนแบบพฤติกรรม (mimicking) ของผู้ใหญ่ที่เร็วเกินไปโดยที่อาจยังไม่ได้รู้จักหรือคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อ หรือการเลือกเสพย์สื่อที่ปลอดภัย แถมงานวิจัยที่ศึกษาถึงวีดีโอสั้นยอดฮิตที่ลงในติ๊กตอกเกี่ยวกับสุขภาพจิตจาก #mentalhealth พบว่าจากการสังเกตคอนเทนต์วีดีโอสั้นยอดฮิต 100 วีดีโอแรก บุคคลที่อยู่ในคลิปคอนเทนต์นั้นดูมีอาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตอยู่เกือบครึ่งเลยทีเดียว สิ่งนี้เลยสื่อให้เห็นว่าการเล่นติ๊กตอกก็อาจสร้างอันตรายต่อเด็กที่เพิ่งเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นได้เช่นกัน ส่วนสำหรับเด็กที่เป็นวัยรุ่น (Adolescents) เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเด็กวัยนี้จะเล่นติ๊กตอกเพื่อการสร้างตัวตน การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมไปถึงสร้างชื่อเสียง เด็กกลุ่มนี้อาจเสี่ยงต่อการสร้างความสนใจในแบบที่เขาไม่ต้องการได้เพราะยังไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบอาจเกิดขึ้นได้จากการเปิดเผยตัวตนในลักษณะนี้มากพอ แถมส่วนใหญ่ผู้ปกครองหรือคุณครูมักจะไม่ทราบเรื่องนี้ เลยยิ่งทำให้ไม่ได้รับการช่วยเหลือ และต้องจมอยู่กับความรู้สึกผิดหวังและเสียใจจากเหตุการณ์นั้น 

 

โดยสรุป หากจะตอบคำถามว่าแอพพลิเคชั่นนี้เป็นภัยต่อวัยรุ่นจริงไหม? จากมุมมองของเรา เรามองว่ามันก็สามารถเป็นภัยได้จริงหากผู้ใช้ไม่ได้รู้จักตัวแอพฯ หรือไม่ได้มีความรู้เรื่องโลกของ social media มากพอ เพราะการขาดความรู้ในจุดนี้ก็อาจส่งผลทำให้ผู้ใช้ต้องไปเจอกับประสบการณ์ที่การใช้ที่แย่ได้ และอาจจะส่งผลต่อการควบคุมการใช้จนกลายเป็นเสพย์ติดจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน  

. 

#ในฐานะพ่อแม่ เราสามารถนำวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรได้บ้าง (ในฉบับของคุณนายข้าวกล่อง) 

 

สร้างข้อตกลงเรื่องเวลาการเล่น – Dr. Muniba Fatima Zhara และคณะกล่าวว่าระยะเวลาในการเล่นติ๊กตอกสามารถเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งของการเสพย์ติดติ๊กตอกได้ โดยมองว่าหากบุคคลใช้เวลาในการเล่นติ๊กตอกเยอะนั้นถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายที่ทำให้เกิดการเสพย์ติดติ๊กตอกได้ เราเลยมองว่าการกำหนดและจำกัดเวลาก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและสามารถลองนำไปปรับใช้ได้ ซึ่งล่าสุดติ๊กตอกเองก็ได้ประกาศออกมาว่าจะทำ feature ที่ช่วยควบคุมการใช้แอพฯ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีนี้แล้วเช่นกัน โดย feature จะแจ้งเตือนเวลาในการใช้แอพฯ ของผู้ใช้ต่ำกว่า 18 เมื่อใช้มาแล้วครบ 60 นาทีต่อวันว่าหมดเวลาการใช้แอพฯ ในวันนั้น หากผู้ใช้แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้ก็ยังคงสามารถเซ็ตเวลาในการใช้ได้ใหม่เองเช่นกัน และจะถูกบังคับให้เซ็ตเวลาในการใช้ใหม่เลยหากใช้แอพฯ มาแล้วครบ 100 นาที นอกจากนี้ผู้ปกครองยังสามารถมีส่วนร่วมต่อการเซ็ตเวลาในการใช้แอพฯ ของผู้ใช้วัยรุ่นต่ำกว่า 18 ได้เช่นกันจากการผูกบัญชีติ๊กตอกของตัวเองกับเด็ก และสามารถตั้งเวลาการแจ้งเตือนเป็นตอนกลางคืนได้เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจะไม่ใช้แอพฯ และได้พักผ่อนนอนหลับตอนกลางคืนจริง  

 

รู้จักสกรีนสื่อและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ social media เนื่องจากคอนเทนต์ในติ๊กตอกนั้นมีความหลากหลายมาก เพราะตัวแอพฯ ให้เสรีภาพต่อผู้ใช้ในเรื่องการสร้างสรรค์คอนเทนต์ (aka ใครที่ไหนก็สร้างคอนเทนต์ได้) การสอนให้เด็กรู้จักสกรีนสื่อ เช่น การสังเกตที่มาของคอนเทนต์ (ว่ามาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือหรือไม่) หรือการทำความรู้จักคนทำคอนเทนต์ (ว่าเป็นผู้รู้หรือเปล่า) เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับฟังมา จะช่วยทำให้เด็กรู้จักเลือกเสพย์สื่อ รวมไปถึงการให้ข้อมูลเรื่องผู้คนรอบตัวในอินเตอร์เน็ต ที่อาจจะมีทั้งคนที่ดี หรือคนที่อาจจะหวังผลประโยชน์บางอย่างจากเรา หรือแม้กระทั่งการให้ข้อมูลเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ในโลกออฟไลน์กับโลกออนไลน์ที่อาจไม่สอดคล้องกันเสมอไป ก็ดูเป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน เพื่อทำให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน สามารถเสพย์สื่อได้อย่างปลอดภัยต่อไป 

 

และเหนือสิ่งอื่นใด! เรามองว่าการทำความเข้าใจในเรื่องภาวะวัยรุ่นพื้นฐาน เช่น ควรรู้ว่าช่วงวัยนี้เป็นวัยที่กำลังพัฒนาตัวตน ค้นหาความเป็นตัวเอง หรือเป็นช่วงที่สมองส่วนการควบคุมอารมณ์กำลังพัฒนา รวมไปถึงการมีทักษะการสื่อสารที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังหรือการพูดอย่างเข้าใจและเหมาะสมกับวัยรุ่นก็ยังถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการได้ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้เราสามารถสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้สามารถสร้าง support system และสามารถพูดคุย สร้างข้อตกลง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ซึ่งหากผู้ปกครองท่านใดอยากหาคำตอบเรื่องนี้เพิ่มเติม สามารถเข้ามาศึกษาได้ฟรีที่ www.netpama.com ได้เลยค่ะ 

บทความโดย: คุณนายข้าวกล่อง 

 

ที่มา 

Bossen, C. B., & Kottasz, R. (2020). Uses and gratifications sought by pre-adolescent and adolescent TikTok consumers. Young consumers, 21(4), 463-478. 

Masciantonio, A., Bourguignon, D., Bouchat, P., Balty, M., & Rimé, B. (2021). Don’t put all social network sites in one basket: Facebook, Instagram, Twitter, TikTok, and their relations with well-being during the COVID-19 pandemic. PloS one, 16(3), e0248384. 

Montag, C., Yang, H., & Elhai, J. D. (2021). On the psychology of TikTok use: A first glimpse from empirical findings. Frontiers in public health, 9, 641673. 

Sha, P., & Dong, X. (2021). Research on adolescents regarding the indirect effect of depression, anxiety, and stress between TikTok use disorder and memory loss. International journal of environmental research and public health, 18(16), 8820. 

Zahra, M. F., Qazi, T. A., Ali, A. S., Hayat, N., & ul Hassan, T. (2022). How Tiktok Addiction Leads To Mental Health Illness? Examining The Mediating Role Of Academic Performance Using Structural Equation Modeling. Journal of Positive School Psychology, 6(10), 1490-1502. 

Zenone, M., Ow, N., & Barbic, S. (2021). TikTok and public health: a proposed research agenda. BMJ global health, 6(11), e007648. 

https://www.bbc.com/news/technology-64813981?utm_campaign=later-linkinbio-bbcnews&utm_content=later-33410603&utm_medium=social&utm_source=linkin.bio 

https://www.thairath.co.th/news/tech/2643515 

https://www.youtube.com/watch?v=D5d4B7HfSnI&t=2960s 

 

NET PaMa