window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
แก้ไขอย่างไร เมื่อครอบครัวเลี้ยงดูลูกด้วยทัศนคติที่ “ไม่ตรงกัน”
เมื่อ 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขอย่างไร เมื่อครอบครัวเลี้ยงดูลูกด้วยทัศนคติที่ ไม่ตรงกัน บทความโดย แม่มิ่ง

ลักษณะของครอบครัวปัจจุบันนี้ด้วยภาระหน้าที่และเศรษฐกิจในครอบครัว หน้าที่เลี้ยงดูลูกจึงไม่ได้หน้าที่ของแม่แต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้แม่ต้องออกไปทำงานเช่นเดียวกับพ่อ ดังนั้น หน้าที่เลี้ยงลูกในหลาย ครอบครัวจึงไปตกอยู่ที่ Nursery หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก 

 

สำหรับครอบครัวโชคดีที่มีปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยเลี้ยงหลานให้ เรียกว่าประหยัดทั้งเงินและมั่นใจในความปลอดภัย แต่แนวความคิดอาจไม่ตรงกันกับพ่อแม่ในสมัยปัจจุบันนี่สิ จึงมักเกิดความขัดแย้งขึ้นบ่อย จะรับมืออย่างไรหากทัศนคติในการเลี้ยงดูไม่ตรงกันเพื่อให้เกิดให้เกิดความสมานฉันท์ในครอบครัว 

 

แก้ไขอย่างไร เมื่อครอบครัวเลี้ยงดูลูกด้วยทัศนคติที่ ไม่ตรงกัน 

การเลี้ยงลูกโดยฝากปู่ ย่า ตา ยายเลี้ยง แน่นอนว่า การทำความเข้าใจความแตกต่างทางความคิดสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องของ Generation Gap หรือช่องว่างของยุคสมัยที่เกิดมาแตกต่างกัน แต่ยังมีจุดร่วมกันนะคะ นั่นคือ ความรัก ความปรารถนาดีกับลูกหลานนั่นเอง  

ในเมื่อความคิดเห็นและทัศนคติที่แตกต่างกันกัน แต่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่ต้องให้ท่านช่วยดูแลลูกรัก การจัดการความเห็นต่างจึงทำกระทำอย่างละมุนละไม ไม่ขัดใจและใช้วิธีร่วมด้วยช่วยกัน 

 

1. อย่ายึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง 

คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ มักเลี้ยงลูกตามหลักการที่ได้เรียนรู้หรือศึกษามา แต่บางแนวคิดแตกต่างจากยุคสมัยของปู่ ย่า ตา ยาย อย่าลืมว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบความคิดแตกต่างกันได้ ดังนั้นอย่ายึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางเพราะคิดว่าตนเองถูกต้อง จะทำให้เกิดความเครียดและขัดแย้งในครอบครัวได้ 

 

2. หลีกเลี่ยงการปะทะและควบคุมอารมณ์ 

เวลาที่คุณแม่กลับจากทำงานความเครียด ความเหนื่อยล้าสะสมอยู่ในร่างกายและจิตใจ หากมีอะไรมาสะกิดอารมณ์แม้เพียงเล็กน้อยทำให้โมโหฉุนเฉียวได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อกลับมาถึงบ้าน อาจได้ยินเสียงคุณตาคุณยาย บ่นหลาน บ่นเบื่อเหนื่อย ไม่อยากเลี้ยงแล้ว หรือแม้แต่คำตำหนิใด   ก็ตาม สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องท่องไว้ในใจ คืออดทน อดกลั้นหรือชวนพูดคุยเรื่องอื่นไปเลยเพื่อแก้ไขสถานการณ์ตึงเครียด พูดจาเอาใจท่านเสียหน่อย เห็นคุณปู่คุณยาเครียดแบบนี้ เดี๋ยววันหยุดนี้เรายกครอบครัวไปทะเลกัน หรืออาทิตย์นี้ไปทานข้าวนอกบ้านกันดีกว่า พาคุณปู่ ย่า ตา ยาย ไปพักผ่อนด้วย การพูดถึงสิ่งที่รื่นรมย์จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ตึงเครียดได้ 
 

3. รับฟังเหตุผล ยืดหยุ่นได้ ไม่ตั้งตนเป็นฝ่ายค้านอย่างเดียว 

อย่าลืมว่า ช่วงเวลาที่คุณปู่ คุณย่าอยู่ดูแลลูกของเรานั่นมีมากกว่าที่เราจะได้อยู่กับลูกในแต่ละวัน ซึ่งท่านจะได้เห็นพฤติกรรมของหลานมากกว่าเรา เวลาท่านบอกเล่าสิ่งใด ควรรับฟังด้วยใจ อย่าเพิ่งรีบคัดค้าน ให้ท่านพูดให้จบ แล้วเราค่อยอธิบายหรือสอบถามท่านในสิ่งที่เราคิดหรือสงสัย การพูดต้องระมัดระวังภาษากาย คือ สีหน้า แววตา  น้ำเสียง หรือเผลอไปดุท่าน เช่น คุณแม่กำหนดเวลาให้ลูกนอนตอนเที่ยง พอเที่ยงโทรมาหาท่าน ได้ทราบว่า บ่ายโมงแล้วยังไม่ยอมนอน ตรงนี้อย่าเพิ่งโมโหโกรธนะคะ รับฟังก่อนว่าทำไมลูกถึงยังไม่นอน อย่าเพิ่งแสดงความไม่พอใจหรือเผลอพูดอะไรที่ทำลายน้ำใจท่าน  

 

4. ถอยบ้างในบางเรื่อง ไม่ต้องท้าชนทุกเรื่อง

แม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่ถูกใจเรานัก แต่ถ้าเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะส่งผลเสียต่อไปในอนาคต ถอยบ้างก็ได้ เพื่อรักษาความสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในครอบครัว อย่าลืมว่าลูกไม่ใช่ของเราคนเดียว ลูกเป็นหลานปู่ ย่า ตา ยายด้วย ท่านก็รักของท่านไม่ต่างจากเราที่เป็นพ่อแม่ เปิดใจรับฟัง หรือให้ท่านได้มี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นบ้าง หรือให้ท่านได้ดูแลหลานในแบบที่ท่านต้องการบ้าง ทำให้ท่านสบายใจที่ดูแลหลาน หลานมีความสุข ท่านก็มีความสุข 

 

5.เรียนรู้ไปด้วยกันด้วยความรักและเข้าใจ 

เรื่องการเลี้ยงดูเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องให้ผู้สูงวัยช่วยดูแล จับเข่าคุยกันบ้างระหว่างสมาชิกในครอบครัวด้วยการพูดคุยกันในบรรยากาศสบาย เพื่อร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาไปทีละเรื่องตอนนี้แม่มีเรื่องอะไรอยากบอกไหมครับ/คะ มีปัญหาอะไรในการเลี้ยงหลานไหมในช่วงนี้ อยากให้ผม/หนู ช่วยอะไรไหมคะ”  หรือช่วงนี้ลูกเริ่มงอแงมากขึ้นหากไม่ได้ดั่งใจ ก็อธิบายเหตุผลให้ท่านฟังและแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาให้ท่านด้วย หรือชวนคุยหาสาเหตุเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา  

 

การเลี้ยงดูเด็กเป็นงานที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่ใช่ต้องถูกต้องตามวิชาเพียงเท่านั้น การเลี้ยงดูเด็กใช้ใจ” เป็นสำคัญ เพราะสายสัมพันธ์ที่ดีทำให้การแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ทำได้ง่ายขึ้น พื้นฐานของทุกคนในครอบครัว คือ ความรัก ความห่วงใย ความหวังดีที่มีต่อลูกหลาน ดังนั้น การพูดคุยกันแม้ความคิดเห็นแตกต่าง ควรเปิดใจรับฟังและ พูดคุยกันด้วยเหตุผลอย่าให้ความคิดเห็นต่าง นำไปสู่ความขัดแย้ง ไม่ได้เกิดผลดีต่อเด็กเลย ความรัก ความเข้าใจและความสามัคคีกันต่างหากที่จะสร้างความแข็งแกร่ง แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เด็กน้อยเติบโตได้อย่างมีความสุข 

 

สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่อยากเรียนรู้และฝึกฝนวิชาการสื่อสารกับลูกและคนในครอบครัวเชิงบวก อยากให้ลองมาเรียนรู้ฟรีๆกับ www.netpama.com นะคะ มีตัวอย่างจำลองสถานการณ์ให้ดูเพลินๆ แถมนำไปใช้ได้จริงนะคะ ❤️ 

 

#เลี้ยงลูก #ความคิดเห็นแตกต่าง  #NetPAMA 

 

NET PaMa