window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
สอนลูก (ทำการบ้าน) อย่างไรดี (ตอนที่ 4)
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
การฝึกฝน 
ตัวช่วยสำคัญอีกประการหนึ่งการทำการบ้านให้ดี คือ การฝึกฝนการทำแบบฝึกหัด รวมไปถึงการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาค่ะ และการฝึกฝนนั้นควรทำอย่างสม่ำเสมอ แต่ปัญหาก็คือ … จะทำยังไงให้ลูกยอมทำแบบฝึกหัด
 
✅ Make it fun!
การทำให้สนุกจะช่วยให้เด็ก ๆ ร่วมมือในการทำแบบฝึกหัดและทบทวนได้มากขึ้นค่ะ คุณครูขอยกตัวอย่างเป็นกิจกรรมแบบนี้นะคะ
1. ปาเป้ากำหนดเวลา - คุณพ่อคุณแม่กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น 5-15 นาที เป็นต้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ช่วยเขียนตัวเลข 5 - 15 ลงบนกระดาษแล้วแปะลงบนแผ่นปาเป้า ในแต่ละวันเด็ก ๆ จะมาสุ่มปาเป้าและต้องทบทวนหนังสือตามเวลา (หมายเลขที่ได้) โดยจะเริ่มจับเวลาเมื่อพร้อมเท่านั้น (อาจใช้การจับฉลากแทนก็ได้ค่ะ) ในแต่ละวันจะนำเลขที่ได้ออกและเริ่มต้นใหม่เมื่อครบสัปดาห์

2. ลูกเต๋าแบบฝึกหัด - คุณพ่อคุณแม่ใช้ลูกเต๋าที่มีแต้มหลากหลาย เช่น ลูกละ 6 แต้ม 8 แต้ม หรือ 12 แต้ม เป็นต้น หรือจะทำเองสนุก ๆ ก็ได้นะคะ หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ทอยลูกเต๋าแล้วทำแบบฝึกหัดตามแต้มที่ได้ เช่น ได้ 4 แต้ม ทำแบบฝึกหัด 4 ข้อ เป็นต้น
 
???? เทคนิคนี้สามารถปรับใช้ได้ตั้งแต่เด็กปฐมวัยเลยค่ะ โดยสามารถแบ่งระยะเวลาและจำนวนข้อในการทำแบบฝึกหัดดังนี้
1. ระยะเวลา - คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเวลาตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงช่วงความสนใจของเด็ก ๆ แต่ละคน คุณพ่อคุณแม่อาจกำหนดช่วงเวลาโดยบวกหรือลบจากเวลาที่เด็ก ๆ ทำได้ประมาณ 5 นาที เช่น ปกติลูกจะนั่งทำงานได้ 10 นาที ช่วงเวลาที่ดี คือ  5 - 15  นาที เป็นต้น
2. จำนวนข้อในการทำแบบฝึกหัด - ควรคำนึงถึงความยากง่ายของแบบฝึกหัดและที่สำคัญ คือ ความสามารถของเด็กแต่ละคน โดยแต้มบนลูกเต๋าเป็นเพียงสื่อหนึ่งที่ช่วยในการกำหนดจำนวนเท่านั้นค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจชวนเด็ก ๆ คิดว่าแต้มเท่าใดจึงจะเหมาะสม หรือกำหนดเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมบ้างคะ

เขียนโดย จิราภา เดือนเพ็ญศรี (นักวิชาการการศึกษาพิเศษ)
ภาพถ่ายโดย Andrea Piacquadio จาก Pexels
NET PaMa