window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
สอนลูก(ทำการบ้าน)อย่างไรดี (ตอนที่ 3)
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

เทคนิคการสร้างความรับผิดชอบ
เมื่อเด็ก ๆ เริ่มรู้แนวทางในการแก้โจทย์ปัญหา รวมถึงสามารถทำงานต่าง ๆ และเริ่มเกิดความมั่นใจแล้วว่าสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง คุณพ่อคุณแม่ควรใช้โอกาสนี้ในการ “ลดการช่วยเหลือ” และ “เพิ่มความมั่นใจ” โดยอาศัยตัวช่วย คือ

✅ รายการสิ่งที่ต้องทำ (Check-list)
Check-list นั้นใช้งานได้ง่าย โดยเด็ก ๆ จะทำสัญลักษณ์ ✅ หน้าการบ้านหรือรายการที่ตนทำเสร็จแล้ว ซึ่งสามารถปรับประยุกต์ใช้กับภาระงานอื่น ๆ หรือกิจวัตรประจำวันได้อย่างหลากหลาย ได้แก่
1. ใช้แสดงภาพรวมของกิจกรรมที่เด็ก ๆ ต้องทำตลอดทั้งวัน เช่น ตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าว ดูทีวี ทำแบบฝึกคณิตศาสตร์ ปั่นจักรยาน เป็นต้น
2. ใช้แสดงรายการที่เด็ก ๆ ต้องทำเป็นช่วงเวลา เช่น “รายการสิ่งที่ต้องทำเมื่อกลับถึงบ้าน ได้แก่ เก็บรองเท้า ทำความสะอาดร่างกาย พัก 15 นาที ทำการบ้านวิชาเลข ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ กินข้าว” หรือ “รายการสิ่งที่ต้องทำหลังตื่นนอน ได้แก่ เก็บที่นอน พับผ้าห่ม อาบน้ำ แปรงฟัน สระผม แต่งตัว” เป็นต้น
3. ใช้แสดงขั้นตอนสำหรับการฝึกทักษะย่อย ๆ เช่น ขั้นตอนการแปรงฟัน ขั้นตอนการแต่งตัว เป็นต้น

???? เทคนิคนี้สามารถปรับใช้ได้ตั้งแต่เด็กปฐมวัยเลยค่ะ โดยสามารถแบ่งระดับภาษาเพื่อความเข้าใจได้ดังนี้
1. ปฐมวัย - ประถมต้น ควรใช้สื่อภาพหรือสื่อภาพคู่กับตัวอักษร เช่น ภาพอาหารคู่กับคำว่ากินข้าว เป็นต้น โดยภาพนั้นสามารถใช้ได้ทั้งสัญลักษณ์ ภาพเสมือนจริง ภาพจริง หรือวัตถุ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำความเข้าใจของเด็ก ๆ ค่ะ
2. ประถมปลาย ควรใช้รายการที่เป็นตัวอักษรที่สั้นกระชับและเข้าใจง่าย หรือมีรูปประกอบเล็กน้อย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็ก ๆ เขียนหรือวาดภาพรายการที่ต้องทำด้วยตนเองค่ะ 
3. มัธยมศึกษาขึ้นไป สามารถใช้รายการที่เป็นตัวอักษรที่อาจมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากขึ้น หรือเพิ่มรายละเอียดของสิ่งที่ต้องทำเป็นข้อย่อยค่ะ

???? นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถใช้ check-list ควบคู่กับเทคนิคการให้รางวัล (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก NetPAMA นะคะ)

???? เทคนิคนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถทำการบ้านและสิ่งที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จได้ด้วยตนเองแล้ว แต่ยังสร้างความรับผิดชอบและทำให้พวกเขารู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำได้สำเร็จอีกด้วยค่ะ 

❗️อย่าลืมนะคะ…ความรับผิดชอบนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถฝึกฝนให้ลูกได้ แต่ต้องอาศัย เวลา ความสม่ำเสมอ การเสริมแรงบวกและความช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ 


เขียนโดย จิราภา เดือนเพ็ญศรี (นักวิชาการการศึกษาพิเศษ)
ภาพถ่ายโดย Suzy Hazelwood จาก Pexels


NET PaMa