window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
เลี้ยงลูกให้ดีไม่มีสูตรสำเร็จแบบตำราอาหาร
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
“คุณหมอคะ แม่อ่านหนังสือเลี้ยงลูกมาก็หลายเล่ม เพจเลี้ยงลูกของคุณหมอทุกคนก็ตามกดไลก์ อ่านทุกวันไม่พลาดสักเพจ แต่ทำไมยังมีปัญหากับลูกชายไม่เว้นแต่ละวัน” 

เป็นคำถามจากคุณแม่ที่มีลูกชายวันกำลังซน ลูกชายคุณแม่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงและเป็นเด็กฉลาด เวลาที่คุณแม่บอกให้ลูกทำอะไร ต้องมีคำถามจากลูกชายตัวน้อย ว่าเพราะอะไรถึงต้องทำแบบนั้น ทำไมต้องทำแบบนี้  
.
แม่ก็จะรู้สึกว่าลูกดื้อ ไม่เชื่อฟังตัวเอง เวลาที่ลูกถามบ่อย ๆ แม่ก็จะมองว่าลูกเถียงคำไม่ตกฟาก ทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสียทุกครั้งที่คุยกัน โดยเฉพาะเวลาที่บอกให้ลูกทำอะไร บางคำถามคุณแม่ได้ยินแล้วก็ได้แต่อึ้ง ตอบไม่ได้ 
 .
เนื่องจากลูกชายคุณแม่มีความพิเศษกว่าเด็กคนอื่น การเลี้ยงดูจัดการพฤติกรรมเด็กอาจจะแตกต่างกับเด็กคนอื่นบ้าง  
.
ในความเป็นจริง ก็ไม่มีการเลี้ยงลูกไหน ๆ ที่ทำตามขั้นตอนลำดับแบบตำราอาหาร  
.
การเลี้ยงลูกเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักการกว้าง ๆ ที่มีไว้ทำความเข้าใจ แต่เมื่อในมาใช้กับเด็กแต่ละคนก็ต้องมีการประยุกต์ให้เหมาะกับลักษณะของเด็กและพ่อแม่ 
.
อย่างไรก็ดี หลักการทั่วไปก็ไม่ได้แตกต่างกัน นั่นก็คือ การเลี้ยงลูกต้องมีพื้นฐานอยู่ที่ความรักและความเข้าใจ แต่ความรักที่พ่อแม่มอบให้ลูกก็ต้องตั้งอยู่บนสติและสมดุลอย่างเหมาะสม มีระเบียบวินัยให้เด็กรู้จักถูกผิด 
.
จากการตรวจประเมินลูกชายของคุณแม่ พบว่าเด็กมีระดับสติปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไป ทำให้มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย และต้องการเหตุผลสนับสนุนที่สามารถทำให้เด็กเชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ซึ่งอาจจะต้องทำความเข้าใจในลักษณะของเด็ก ที่มีความแตกต่างกับเด็กทั่วไปในบางมุม 
.
เด็กแต่ละคนมีความพิเศษที่แตกต่างกันไป  
เช่นเดียวกันกับพ่อแม่ ซึ่งย่อมมีความแตกต่างกันไป 
เป็นสัจธรรมสำหรับทุกครอบครัว  
จึงไม่มีตำราการเลี้ยงลูกเล่มไหนที่จะนำมาใช้เป็นตัวกำกับขั้นตอนการเลี้ยงลูกได้อย่างตรงไปตรงมา สิ่งที่ตำราอาจจะช่วยได้ คือการให้ความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อที่พ่อแม่จะนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับลูกๆ และบ่อยครั้งเช่นกัน ที่การนำมาปรับใช้อาจจะต้องอาศัยการประเมินและคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเพื่อการจัดการที่เหมาะสมสำหรับแต่ละครอบครัว
 .
เขียนโดย พญ.เบญจพร ตันตสูติ
ภาพประกอบโดย ศิรภัสสร เย็นจิตต์
NET PaMa